กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกลไกการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเยาวชนมัสยิดโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลวาริส โลงซา
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ สีสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาชุมชนที่ผ่านมาได้รับการให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากแผนพัฒนาประเทศฉบับต่าง ๆ ประชาชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการพัฒนาเป็นอันดับแรก การส่งเสริมและประสานกิจกรรมด้านการพัมนาของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาให้ประชาชนในแต่ละกลุ่ม และองค์กรต่าง ๆ ในชุมชน การพัฒนาไม่ได้เป็นกิจกรรมเพื่อการสังคมสงเคราะห์อีกต่อไป แต่เป็นการพัฒนาที่ให้ความสำคัญกับประชาชนโดยให้ประชาชนเข้ามาร่วมรับรู้ปัญหา และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง แต่ที่ผ่านมาแม้ว่าการกำหนดนโยบายการตัดสินใจการสั่งการในที่สุดประชาชนก็เป็นฝ่ายตอบสนอง และปฏิบัติตามการให้ความร่วมมือในกิจกรรมหรือโครงการที่รัฐกำหนดไว้มากกว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมตามความหมายที่แท้จิง ทำให้องค์กรภายนอกภาครัฐส่วนใหญ่ รวมทั้งประชาชนทั่วไปไม่ถือว่าเป็นปัญหาที่พลังของตนจะต้องเข้าไปร่วมแก้ไข เมื่อพลังทางสังคมส่วนใหญ่รวมทั้งวางเฉย ทำให้กลไกรัฐอยู่ในสภาพที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างโดดเดี่ยว ขาดพลังสร้างสรรค์ในการดำเนินการขาดระบบการประสานงานที่ดี ทำให้กลไกรัฐเพ่ิมข้อจำกัดมากย่ิงขึ้นจนไม่อาจแก้ไขปัญหาด้วยพลังของตนเองได้โดยลำพัง หากกล่างในด้านแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในอดีตที่ผ่านมาก็มีแนวความคิดทำนองเดี่ยวกันแนวคิดของระบบใหญ่ กล่าวคือปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐและกลไกรัฐเป็นเจ้าของปัญหา และต้องมีบทบาทหน้าที่ แก้ไขปัญหานี้โดยตรง ดังจะเป็นได้จากการมีการออกฏหมายระบุโทษ มาตรการทางกฏหมายและบังใช้กฏหมายจึงเป็นหลักสำคัญในการแก้ไขปัญหายาเสพติด แม้ว่าในระยะหลังพัฒนาการของการแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่ิมมีมากขึ้น พร้อมๆ ไปกับความซับซ้อนของตัวปัญหายาเสพติดเอง แต่บทบาทของรัฐก็ยังเป็นส่วนหลักในกลไกการแก้ไขปัญหา เช่นการใช้มาตรการทางกฏหมาย การส่งเสริม การปฏิบัติ การจิตวิทยา การพัฒนาต่อกลุ่มประชาชน เพื่อมุ่งเน้นมาตรการป้องกันยาเสพติด โดยอาศัยศักยภาพของรัฐเป็นตัวกล่างในการเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งแนวความคิดและการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามกรอบดังกล่าว แม้จะมีส่วนถูกำต้องสอดคล้องกับบางกลุ่มเป้าหมาย แต่หากกล่าวโดยภาพรวม การระดมสรรพกำลังเฉพาะภาครัฐย่อมไม่อาจแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้มูลเหตุสำคัญที่ข้อจำกัดของกลไกรัฐดังกล่าวมาแล้วนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนมากที่สุด กลับมีความสลับซับซ้อนมากที่สุดในบรรดาวงจรของปัญหายาเสพติดมิติต่าง ๆ และเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากลำบากที่สุด เนื่องจากเพราะตัวมันเองเป็นทั้งต้นเหตุ และปลายเหตุของปัยหาในห้วงเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ครอบคลุมไปถึงบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม   จากบทเรียนดังกล่าวทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองกับมามองที่ประชาชน โดยมุ้งเน้นการพัฒนาคุณภาพของ "คน" อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถกำหนดและตัดสินใจอนาคตของตนเอง ในขณะที่บทบาทของรัฐต้องปรับบทบาทและทัศนะในการทำงาน โดยเรียนรู้ร่วมกับประชาชนโดยเชื่อว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีความหมาย และสำคัญที่สุด คนทุกคนมีความสามารถที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ถ้ามีโอกาส ดังนั้น การให้โอกาสจะช่วยให้พลังอันซ่อนเร้นในตัวคนออกมาใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวม และการพัฒนาจะมีประสิทธิภาพต้องยึดหลักการรวมตัวและทำงานร่วมกัน การส่งเสริมและพัฒนาดังกล่าว ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมทำให้เกิดกลุ่มพลังและองค์กรประชาชนต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการเข้าไปส่่งเสริมจากองค์กร พัฒนาภาครัฐ ภาคเอกชน และเกิดการรวมตัวองค์กรประชาชนต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบการเข้าไปส่งเสริมจากองค์กร พัฒนาภาครัฐ ภาคเอกชน และเกิดการรวมตัวของประชาชนตามธรรมชาติในชุมชน เช่น กลุ่ม อสม. กลุ่มหมอพื้นบ้าน กลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน และอื่น ๆ ซึ่งส่งผลให้การพัฒนาได้สร้างโอกาสหรือช่องทางสำหรับประชาชนให้สามารถพัฒนาศักยภาพ หรือสะท้อนปัญหาที่แท้จริงมากขึ้น   ดังนั้น ชมรมเยาวชนมัสยิดโกตาบารู ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมการศึกษาและเรียนรู้เรื่องยาเสพติด และพัฒนาระบบกลไกการก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนในชุมชน จึงได้จัดโครงการกลไกการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,000.00 0 0.00
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการครูผู้สอนและแกนนำนักเรียนในศุนย์อิสลามประจำมัสยิด 0 9,600.00 -
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 จัดเวทีเพื่อส่งเสริมรูปแบบการจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชน 0 2,500.00 -
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 จัดเวทีเพื่อสรุปผลและถอดบทเรียนนำเสนอสู่สาธารณชน 0 5,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2561 11:17 น.