กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกผักไร้สารสุขภาพไร้โรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน ม.10 ต.บ้านนา
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเนือง จันทรจิตรจริงใจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการทำประชาคมปัญหาสุขภาพของประชากรหมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ้านนา พบว่าโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่ คือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดจากปัญหาสุขภาพดังกล่าว พบว่าในชุมชนมีผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ต้องรับการบริการรักษาพยาบาลตลอดชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัว เป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องเสียงบประมาณในการดำเนินการเป็นอันมาก และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาสุขภาพที่สำคัญมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมีหรือผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างเพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี เพื่อเหตุทางการค้าทำให้สารเคมีเป็นโทษเหล่านั้น ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างอยากที่จะหลีกเลี่ยง การรับประทานผักอาหารที่มีกากใยมากอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน วิตามินเอ และวิตามินซีสูง ซึ่งสารมารถรับประทานได้จากผักผลไม้โดยเฉพาะผักปลอดสารพิษที่สารมารถปลูกรับประทานเองได้ในควรเรือน ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อและเป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน โดยเน้นการให้สุขศึกษาแก่ประชาชนแก้การบริโภคผักและการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคในครัวเรือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพื่อความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารเคมี

 

0.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีการรับประทานผักผลไม้อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมต่อวัน

 

0.00
3 ข้อที่ 3เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชุมคณะทำงาน ๒.ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าว, ป้ายประกาศ, อสม. ๓.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการผักปลอดสารพิษ การเลือกซื้อ การล้าง การเก็บ การรับประทานอาหารและความเสี่ยงจากการบริโภคพืชผักปนเปื้อนสารเคมี ๔.จัดกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน โดยปลูกผักหลากหลาย ๕.ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนผักเพื่อการบริโภคและแลกเปลี่ยนกล้าผัก ๖.คณะทำงานติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินผลกิจกรรมเดือนละครั้ง ๗.สรุปผลดำเนินโครงการ และประเมินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ ๒. กลุ่มเป้าหมายมีการรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมต่อวัน ๓. กลุ่มเป้าหมายปลูกพืชผักปลอดสารพิษรับประทานในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2561 15:10 น.