กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลโกตาบารู
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสิทธิศักดิ์ วชยวิกรานต์
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ สีสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจาก องค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุบัติเหตุทางถนนว่าเป็นปัญหาสำคัญ และเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสีย บาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน จึงได้มีมติร่วมกันให้เป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยประกาศเป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety : 2011-2020) โดยตั้งเป้าลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ประเทศไทยตอบรับปฏิญญาดังกล่าวโดยรัฐบาลไทยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยบูรณาการการดำเนินการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ลดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคนภายในปี 2563 ทั้งนี้จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน  เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน รวมทั้งประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง ซึ่งพาหนะส่วนใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุเป็นรถจักรยานยนต์ เพราะในปัจจุบันคนค่อนข้างหาซื้อง่าย ไม่ต้องมีเงินดาวน์ ไม่มีมาตรการเข้มงวดในการซื้อขาย ทำให้ประชาชนสามารถครอบครองรถกันมากขึ้น   จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอรามันใน 5 ปี ย้อนหลัง พบว่าตำบลโกตาบารูมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 57,51,65,48,33 ตามลำดับ โดยสถิติปี 2560 พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 1,144 ครั้ง ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอรามัน 158 ครั้ง เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บจำนวน 209 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่พบว่าตำบลโกตาบารู ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุของตำบลโกตาบารูเพราะจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน รวมทั้งประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง โดยมีสถิติดังนี้ จำนวนผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 30 คน ตามลำดับ   ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู  มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลโกตาบารู โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงเพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,600.00 0 0.00
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 อบรมพัฒนาคณะทำงาน จำนวน 1 วัน 0 11,700.00 -
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 รณรงค์และปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายที่เกิดอบุัติเหตุทางถนน 0 4,900.00 -
28 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 จัดเวทีคืนข้อมูลแก่สมาชิกในชุมชน จุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว แก่สมาชิกในชุมชน จำนวน 1 ครั้ง 0 9,500.00 -
29 ส.ค. 61 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน 0 4,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่ม ชมรม เสริมสร้างวินัยจราจรในชุมชน เพื่อส่งเสริมการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในชุมชน, ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฏจราจรและมีวินัยในการใช้รถใช้ถนน อีกทั้งก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยง และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง ส่งผลให้คณะทำงานป้องกันอุบัติเหตุชุมชน สามารถสร้างภาคี ขยายเครือข่ายการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2561 15:50 น.