กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อนช่วนเพื่อนห่างไกลโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รหัสโครงการ 62-L5215-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขารูปช้าง
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนำโชค ชำนาญวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.154,100.612place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2562 30 ก.ย. 2562 130,000.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชาชนสังคมไทยมีความซับซ้อนในการดำรงชีวิต ด้วยข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่หลากหลาย และระบบสุขภาพที่มีความซับซ้อน การพัฒนาสมรรถนะให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ(health literacy) จึงเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย เพื่อเพิ่มความสามารถของประชาชนให้สามารถควบคุม ดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บรรลุสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลด้านการสร้างสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส ประกอบกับรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ปี 2557 (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2557) พบว่า มีการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น หนึ่งในสามของประชาชนไทยที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความชุกโรคเบาหวานจากร้อยละ 6.9 ปี 2554 เป็น ร้อยละ 8.9 ในปี 2559 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนประมาณ 4.8 ล้านคน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 คน/ปี ส่วนความชุกของโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มจากร้อยละ 21.4 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 24.7 ในปี 2559 เพิ่มขึ้นจำนวน 13 ล้านคน หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 600,000 คน/ปี โดยจำนวนนี้เป็นผู้ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 40 ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อมีปัจจัยเสี่ยง 2 ด้านสำคัญ คือ ด้านพฤติกรรม และด้านสรีระวิทยา ปัจจัยด้านพฤติกรรม มี 4 ปัจจัย คือ การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ส่วนด้านสรีระวิทยา มี 4 ปัจจัย คือ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน  จากข้อมูลด้านสุขภาพในปี 2560 มีความชุกของการเกิดโรคเบาหวาน 4,244.33 ต่อแสนประชากร และโรคความดันโลหิตสูง 11,709.44 ต่อแสนประชากร โรคหลอดเลือดสมอง 364.28 ต่อแสนประชากร โรคหัวใจและหลอดเลือด 158.29 ต่อแสนประชากรซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนถึงกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ และการควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา อาจยังไม่มีอิทธิพลเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมดำรงชีวิตที่เหมาะสม จำเป็นต้องมีการพัฒนากระบวนการสื่อสารสุขภาพ(health listeracy) ให้ประชาชนทั่วไป รับรู้ในวงกว้าง และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องและต่อเนื่อง และจากการศึกษาประเมินผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง เบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริม พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงขาดความรู้ในการดูแลตนเอง ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้คงที่  ไม่เคยได้รับการตรวจเท้า ไม่รู้ว่าทำไมต้องตรวจเลือด ไม่รู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเอง ขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสมทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การกินยา การออกกำลังกาย การดูแลระดับน้ำตาลในเลือด การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ว่ามีความสำคัญอย่างไร นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและเกิดผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นทุกปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน

ได้รับการคัดกรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน ได้มีความรู้เรื่องสาเหตุ การป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน

ปชช.อายุ 35 ปีขึ้นไป / ภาคีเครือข่ายแกนนำสุขภาพ มีความรู้และมีทักษะการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงและได้รับการจัดบริการเสริมทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ได้รับการขึ้นทะเบียน/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

เกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชน ระบบดูแลและติดตามช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากชุมชนโดยชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 400 130,000.00 1 130,000.00
4 มี.ค. 62 - 30 ก.ย. 62 โครงการนวัตกรรมสุขภาพชุมชน เพื่อนช่วยเพื่อนห่างไกลโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 400 130,000.00 130,000.00
  1. จัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อขออนุมัติ 2 .ประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพสต. และทีมสหวิชาชีพ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน รวมทั้งแบ่งความรับผิดชอบตามบทบาทภาระงาน ได้แก่ งานสุขศึกษา งานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 3.ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายกำหนดเป็น ทีม อสม./อสค./จิตอาสา, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
    4.อบรมแกนนำการสร้างสุขภาพฯ เพื่อร่วมกิจกรรมประเมินพฤติกรรม และร่วมกระบวนการสื่อสารสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มเสี่ยงแต่ละคน 5.เครือข่ายแกนนำการสร้างสุขภาพฯ ออกคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย / ประเมินพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยพฤติกรรมสุขภาพ(Health Behavioral Surveillance System: HBSS) และรวบรวมส่งทีมวิเคราะห์ฯ 6.ประสานความร่วมมือกับเทศบาลเมืองเขารูปช้าง / แกนนำสุขภาพ ในการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน เช่น
    • การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สุขภาพในชุมชน
    • การเพิ่มสาระความรู้ในหอกระจายข่าวด้านสุขภาพ
    • การจัดคลินิกให้คำปรึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
    • ลานออกกำลังกาย
    • การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือน และส่งเสริมการจำหน่ายผักปลอดสารพิษในชุมชน       - การกำหนดและบังคับใช้มาตรการทางสังคม หรือข้อตกลงร่วมกันเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ 2 ส และส่งเสริมให้ชุมชน สร้างนวัตกรรมหมู่บ้านลดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ ตามความเหมาะสม
    1. วิเคราะห์ สังเคราะห์แบบประเมินพฤติกรรม และจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายแกนนำสร้างสุขภาพ ถ่ายทอดความรู้ และจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กร เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ยังเป็นปัญหาตามกรอบ 3 อ 2 ส หรืออื่นๆ ตามประเด็นที่พบจากผลการประเมินพฤติกรรม โดยใช้รูปแบบ วิธีการที่เหมาะสม เช่น การให้ความรู้ผ่านสื่อในชุมชน จัดนิทรรศการหรือบอร์ดความรู้ จัดกิจกรรมสาธิตให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กิจกรรมโมเดลอาหารลดโรค โปรแกรมควบคุมความเครียด โปรแกรมออกกำลังกาย โปรแกรมเลิกบุหรี่ เป็นต้น
  2. เครือข่ายแกนนำการสร้างสุขภาพ/อสม.  ติดตาม สังเกต และให้คำแนะนำพฤติกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ทุกอาทิตย์ และประเมินพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงซ้ำ
  3. วิเคราะห์ สังเคราะห์แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ก่อนและหลังดำเนินการ และรวบรวม สรุปผลการดำเนินกิจกรรมส่ง สสอ./กองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้รับการดูแล และความรู้อย่างเหมาะสม เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำนวัตกรรมชุมชนมาปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตประจำวันที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2561 09:24 น.