กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพคุ้มครองผู้บริโภค ต.ศาลาใหม่ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2487-1-0007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปัญญา อิสลามกุลนางสาวฟาตีนีพิริยศาสน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 58 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วยการควบคุมมาตรฐานสถานประกอบการ การเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังวางจำหน่ายการพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและผู้ประกอบการรวมถึงการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย ซึ่งในปี ๒๕๕๙ ได้มีการจัดให้มีกิจกรรมในระดับ คปสอ.ตากใบ (คณะกรรมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขอำเภอตากใบ) เช่น การอบรมอย.น้อยระดับอำเภอ การสอบตรวจมาตรฐาน Primary GMP ในกลุ่มผู้ผลิตขนาดเล็ก การตรวจสอบมาตรฐานร้านชำ การตรวจสอบมาตรฐานกลุ่มผู้ผลิตน้ำดื่ม ฯลฯ ซึ่งในตำบลศาลาใหม่มีกลุ่มผู้ผลิตขนาดเล็กระดับชุมชนได้รับเลขสารบบอาหาร และได้รับการรับรองสัญลักษณ์ อย. ฮาลาล และมผช. ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ปูลารุงอรุ่ง (ขนมพื้นเมือง) และกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ไข่เค็มบ้านโคกมะเฟือง จากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศาลาใหม่ ในปี ๒๕๕๙ ยังพบปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ การขายยาอันตรายในร้านชำ อาหารฉลากไม่ครบถ้วน อาหารไม่มีฉลาก ไม่มีการควบคุมการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ฯลฯ ทำให้ความสำเร็จในการดำเนินงานยังน้อย เช่น ร้านชำที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานถึง ๓๑ ร้าน ร้อยละ ๖๐.๖๘ (ตามเกณฑ์แบบตรวจ รช.นธ.๑) ร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านก๋วยเตี๋ยวยังส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านด้านกายภาพและยังพบการสูบบุหรี่ การดำเนินกิจกรรมอย.ในโรงเรียนไม่มีความต่อเนื่อง รวมไปถึงการปฏิบัติตามกฎหมายในการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะยังไม่เป็นรูปธรรมในหลายๆ ภาคส่วน สิ่งเหล่าจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรงเนื่องจากประชาชนเป็นผู้บริโภค จึงจำเป็นจะต้องมีการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสร้างให้เกิดความร่วมมือของเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดมาตรฐานที่ดี ที่จะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ปลอดโรคอย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาข้างต้นและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศาลาใหม่จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อส่งเสริมให้ร้านอาหาร ร้านค้า และกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ มีมาตรฐาน

ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ ๔๐

2 ข้อที่ ๒ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกิดความตระหนักในการร่วมสร้างสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนในชุมชน

ร้านชำผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มากกว่าร้อยละ ๔๐

3 ข้อที่ ๓ เพื่อให้มีการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะอย่างเป็นรูปธรรม

สถานที่สาธารณะตามกฎหมายได้รับการจัดเป็นเขตปลอดบุหรี่ ร้อยละ ๑๐๐

4 ข้อที่ ๔ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมเครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียน

ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน อย.น้อย มากกว่าระดับ ๓ อย่างน้อย ๒ โรงเรียน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน ๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย และติดตามกลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ ๔. ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านก๋วยเตี๋ยวในพื้นที่ทุกร้าน จำนวน ๔๖ ร้าน ๕. ตรวจประเมินร้านชำทุกร้าน จำนวน ๕๑ ร้าน ๖. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม จำนวนทั้งหมด 58 คน ดังนี้ - ประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องมาตรฐานสุขาภิบาลร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านก๋วยเตี๋ยว ในกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านก๋วยเตี๋ยว จำนวน 1๒ คน
- ประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานร้านขายของชำ ในกลุ่มผู้ประกอบการร้านขายของชำ จำนวน 20 คน - ประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการฟื้นฟูศักยภาพการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน เช่นฉลากอย. การเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าอุปโภคบริโภค ยาสูบ/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ ในกลุ่มแกนนำนักเรียน อย.น้อย จำนวน 2๖ คน (4 โรงเรียน) ๗. รณรงค์จัดสถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย - จัดทำสติ๊กเกอร์ปลอดบุหรี่ในสถานที่สาธารณะสำหรับให้ร้านอาหาร/แผงลอย/ร้านก๋วยเตี๋ยวทุกร้านติดที่ร้าน (46 ร้าน) จำนวน 133 แผ่น
- จัดทำสติ๊กเกอร์การขายบุหรี่ตามกฎหมายฯ และตามมาตรฐาน เกณฑ์ รช.นธ.๑ สำหรับให้ร้านชำทุกร้านติดที่ร้าน (51 ร้าน) จำนวน 51 แผ่น - จัดทำป้ายสติ๊กเกอร์อะคริลิก “สถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่” สำหรับให้โรงเรียน มัสยิด วัด สถานที่ราชการ หน่วยงานราชการอื่นๆ ในตำบลศาลาใหม่ทั้งหมด ๑๔ แห่ง ติดตั้งในอาณาเขตบริเวณขององค์กรนั้นๆ จำนวน ๑๔ ป้าย ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๘. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และรายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๙. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดูฉลากอาหาร ความรุนแรงจากใช้ยาสูบและดื่มแอลกอฮอล์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จำหน่ายและผู้ผลิต มีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น ๒. ประชาชนได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลือกซื้อสินค้าในการอุปโภคบริโภค ๓. สามารถบังคับการใช้กฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค และคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 11:09 น.