กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และป้องกันไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดปรางแก้ว
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปัญญาศิลารักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 135 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหนะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้เมื่อ คศ 1970มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidermic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific ประชากรประมาณ 2500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1
การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2560 ใช้วิธีการทางสถิติแบบอนุกรมเวลา (Time series analysis) แบบ ARIMA โดยใช้ข้อมูลจํานวนผู้ป่วยย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปี (ปีพ.ศ. 2550-2559) ซึ่งผลการวิเคราะห์คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ. 2560 ประมาณ 80,000 – 100,000 ราย คาดว่าจะมีจํานวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ประมาณ 22 – 37% และอัตราป่วยตายอยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 0.11 ทั้งนี้โดยมีอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของไวรัสเดงกีชนิด DENV-2 ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยกลุ่มเสี่ยงสําคัญยังคงเป็น กลุ่มนักเรียน นักศึกษา อยู่ระหว่างกลุ่มอายุ 5 – 24 ปี (ประมาณร้อยละ 50) สําหรับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอ โดยใช้แนวคิดด้านการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยทําการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ (Geo-statistical Analysis) แบบ Inverse Distance Weighting; IDW และใช้ GIS Software เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระดับอําเภอ จากปัจจัยพื้นที่ที่มีจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกหนาแน่นซ้ําซาก และแนวโน้มความรุนแรงของการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไปผลการวิเคราะห์คาดว่ามีจํานวนพื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอทั้งสิ้น จํานวน 206 อําเภอ ใน 61 จังหวัด เมื่อพิจารณาในจังหวัดสงขลา อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ อำเภอคลองหอยโข่ง รองลงมาคืออำเภอจะนะ และอำเภอนาทวี ตามลำดับ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงเรียนวัดปรางแก้ว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันไข้เลือดออกขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียน บุคลากรทุกคนเกิดความตระหนักและให้ความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก ข้อที่ 2. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกมาใช้ในโรงเรียน ข้อที่ 3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกมาใช้ในชุมชนของตนเอง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก และนำไปปฏิบัติได้จริง 1.ในบริเวณโรงเรียนวัดปรางแก้วไม่มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

  1. ชุมชนของโรงเรียนวัดปรางแก้วมีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายลดลง
  2. นักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วไม่เป็นไข้เลือดออก
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. โรงเรียนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรณรงค์และป้องกันไข้เลือดออกให้กับนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วทุกคน โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่มตามวัย ในวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2560 โดยโรงเรียนจะเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้กับนักเรียน จำนวน 2 คน เพื่อให้ตรงกับวัยของนักเรียน 2. นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการประชุมไปปฏิบัติในโรงเรียนที่บ้าน และชุมชนโดยรอบ เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย นอนกางมุ้ง การใส่ทรายอะเบทในตุ่มน้ำ เป็นต้น 3. นักเรียนและครูร่วมกันจัดทำป้าย คำขวัญ แล้วเดินรณรงค์ในชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักและสร้างความรู้ให้กับคนในชุมชน 4. ครูออกตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อติดตามผลการปฏิบัติงานของนักเรียน 5. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองและนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน 2. ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนวัดปรางแก้วลดลง 3. นักเรียนออกกำลังกายได้เหมาะสมกับวัยอย่างสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 11:45 น.