กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตกรรมเพื่อ "แม่ลูกฟันดี" ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L3053-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 สิงหาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 55,990.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสามัน ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.681,101.589place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (55,990.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 324 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 56 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพฟันและได้รับคำแนะนำในเรื่องทันตกรรม
56.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์ และมีเด็กปฐมวัย ปัญหาสุขภาพช่องปากในหญิงตั้งครรภ์ จากการเป็นโรคปริทันต์จะส่งผลต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์ และการคลอดของทรกๆด้ นอกจากนี้แม่ที่มีฟันผุยังส่งผลต่อการเกิดฟันผุในลูกด้วย โรคฟันผุในเด้กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้อย่างรวดเร็วในชาวงอายุ 1 - 3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด้กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถุกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อการพัฒนาการการเจริยเติบโตของเด็กได้ จากผลการตรวจสอบสภาวะช่องปากของหญิงตั้วครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจฟัน มีฟันผุ เหงือกอักเสบ และมีหินน้ำลาย ร้อยละ 96 และจากการสอบถามหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ พบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการละเลยการดูแลเอาใจใส่ในการดูแลำทความสะอาดช่องปาก ขาดทักษะการทำความสะอาดช่องปาก การเลือกบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ และการไม่ได้รับบริการทางทันตกรรม เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วต้องทำงาน ไม่มีเวลาดุแลสุขภาพช่องปาก ไม่มีเวลามารับบริการทันตกรรม เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาทางทันตกรรมสุขภาพ และส่งผลต่อลูกได้ และจากผลการสำรวจสภาวะช้องปากของเด็กอายุ 3 ปี พบว่า ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 เด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุมากถึงร้อยละ 36.0,30.23 และ 24.8 ซึ่งพบว่า เด็กอายุ 3 ปีมีค่าปราศจากฟันผุลดลงเรื่อยๆ จากการสอบถามพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุ พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่แปรงฟันก่อนนอนให้ลูก เนื่องจากดูดนมเสร็จลูกก็หลับจึงไม่อยากรบกวนการนอนของลูก หรือไม่ก็ทำความสะอาดไม่ถูกวิธีและมีเด็กบางส่วนที่อยู่กับผู้ดูแลไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ จึงไม่ค่อยดูแลสุขภาพช่องปากเท่าที่ควร และยังพบอีกว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ให้ความใส่ใจต่อการเลือกบริโภคอาหารให้กับลูก จะตามใจลูกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขต่อไป   เพื่อเป็นการสร้างเสริมให้แม่และเด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี ทางฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง ได้เล็งเห็นความสำคัญและจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้หญิงมีครรภ์และผู้ปกครองเด็กตระหนักถึงความสำคัญ และพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูก ที่ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงมีครรภ์ที่มาฝากที่ รพ.สต.ตะบิ้ง ได้รับการส่งเสริมทันตกรรม

 

56.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 3 ปี ในตำบลตะบิ้งได้รับการส่งเสริมทันตกรรม

 

324.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้หญิงมีครรภ์ที่มาฝากที่ รพ.สต.ตะบิ้ง ได้รับการส่งเสริมทันตกรรม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 3 ปี ในตำบลตะบิ้งได้รับการส่งเสริมทันตกรรม

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้ดีขึ้น และสามารถดูแลสุขภาพช่องฟันของลูกได้
  2. เพื่อกระตุ้นให้หญิงมีครรภ์ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปาก
  3. เพื่อให้หญิงมีครรภ์มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น
  4. เพื่อผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและลูกได้จริง
  5. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองและลูก
  6. ผู้ปกครองเด็กปรับและลดพฤติกรรมเสี่ยงการเลี้ยงดูที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุในเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2561 15:35 น.