กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดอย่างถูกวิธี
รหัสโครงการ 10/60
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดบางศาลา
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุรีรัตน์รัตนเหม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงใจอ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ขยะมูลฝอยขยะหรือของเสีย แบ่งเป็น มูลฝอยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ มูลฝอยสด เศษอาหาร กระดาษ โฟม พลาสติก ขวด แก้ว โลหะ ฯลฯ และของเสียอันตราย ได้แก่ มูลฝอยติดเชื้อ กากสารเคมี สารเคมีกำจัดแมลง กากน้ำมัน หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ใช้แล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ 1. อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2. น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ 3. แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียนและประชาชน 4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน การแก้ปัญหาขยะมูลฝอย
1.ก่อนจะทิ้งขยะ เราจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ มีแนวคิด คือ REFUSEการปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กล่องโฟม หรือ ขยะมีพิษอื่น ๆ RETURN การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มต่าง ๆ REPAIR การซ่อมแซมเครื่องใช้ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ REUSE การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่นใช้ถุง ผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ RECYCLE การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น การทำกระดาษรีไซเคิล การทำผลิตภัณฑ์ 2. ทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ให้ 3. ควรมีการคัดแยกขยะและแยกทิ้งลงในถังรอง เพื่อแก้ปัญหาขยะซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยนักเรียนชุมชน โรงเรียนวัดบางศาลา จึงจัดทำโครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและประชาชนตำบลทุ่งลานมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทาง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียน มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ ข้อที่ 2 เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี ข้อที่ 4 เพื่อให้โรงเรียนชุมชนบริหารจัดการขยะด้วยตนเอง ข้อที่ 5 เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน

1.นักเรียน ครู ร้อยละ 100 มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
2.นักเรียนครู ร้อยละ 100 รู้วิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่

3.โรงเรียนชุมชนบริหารจัดการขยะด้วยตนเองสามารถลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน

2

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจ กิจกรรมย่อยที่ 1 สร้างความตระหนักให้ความรู้ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาที่ปรึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน จำนวน 80 คน เพื่อชี้แจงรายละเอียดและเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินงานโครงการความรู้เกี่ยวกับวิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ กิจกรรมย่อยที่ 2ฝึกปฏิบัติการคัดแยกขยะและการนำขยะมาใช้ใหม่โดยการ REPAIRREUSE และ RECYCLE เรียนรู้กับวิทยากรในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้จำนวน 13 ชั่วโมง กิจกรรมย่อยที่ 3 นำเสนอผลงานขยายผลความรู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์จำนวน 1 วัน กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฎิบัติการการนำขยะครัวเรือนกลับมาใช้ประโยชน์โดยการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยแห้ง -กิจกรรมให้ความรู้และ นำเสนอตัวอย่าง วีดีทัศน์การนำขยะจากเศษอาหารมาใช้ประโยชน์ -ฝึกปฏิบัติทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน -ฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักแห้งจากเศษอาหารและพืชผัก
-นำผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารมาใช้ในโรงเรียนและบรรจุผลิตภัณฑ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน ครู มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
2.นักเรียนครู รู้วิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ 3.โรงเรียนชุมชนบริหารจัดการขยะด้วยตนเองสามารถลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 13:52 น.