กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ต.ศาลาใหม่ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2487-1-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,290.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาตีนีพิริยศาสน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1036 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิตามพระราชดำริฯสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา โดยดำเนินการในโรงเรียน มีกิจกรรมหลักคือ การจ่ายยาถ่ายพยาธิในเด็กนักเรียน การตรวจอุจจาระในเด็กนักเรียนเพื่อค้นหาอัตราความชุกของโรคพยาธิ และการให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ซึ่งประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง จึงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามโครงการพระราชดำริฯ ซึ่งโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ และโรงเรียนจรรยาอิสลาม เป็นหนึ่งในโรงเรียนเป้าหมายของโครงการฯ จากการดำเนินงานตั้งแต่ ในปี ๒๕๕๖ รพ.สต.ศาลาใหม่ สนง.โครงการงานโรคติดต่อฯ ศูนย์พิกุลทอง โรงเรียนบ้านศาลาใหม่ และโรงเรียนจรรยาอิสลาม ได้ดำเนินการตรวจค้นหาไข่พยาธิในอุจจาระเด็กนักเรียนจำนวน ๕๙๒ คน ตรวจพบไข่พยาธิ จำนวน ๑๐๓ คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ ๑๗.๔๐ ต่อมาในปี ๒๕๕๗ ได้ตรวจค้นหาไข่พยาธิในอุจจาระเด็กนักเรียนจำนวน ๑,๔๐๘ คน ตรวจพบไข่พยาธิ คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ ๑๗.๙๔ ต่อมาในปี ๒๕๕๘ ได้ตรวจค้นหาไข่พยาธิในอุจจาระเด็กนักเรียนจำนวน ๑,๓๙๔ คน ตรวจพบไข่พยาธิ จำนวน ๔๔ คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิร้อยละ ๓.๑๕ และล่าสุดในปี ๒๕๕๙ ได้ตรวจค้นหาไข่พยาธิในอุจจาระเด็กนักเรียนจำนวน ๑,๒๒๓ คน ตรวจพบไข่พยาธิ จำนวน ๑๓๑ คน คิดเป็นอัตราความชุกของโรคพยาธิ ร้อยละ ๑๐.๗๑ โดยผลการตรวจหาไข่พยาธิ ดังนี้ พบพยาธิแส้ม้า พยาธิไส้เดือน พยาธิมากกว่า ๑ ชนิด และพยาธิเข็มหมุด ร้อยละ ๕.๑๕, ๔.๐๘, ๑.๔ และ ๐.๐๘ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราความชุกสูงกว่าปี ๒๕๕๘ (ร้อยละ ๓.๑๕) เนื่องจากปี ๒๕๕๘ มีกิจกรรมรณรงค์จ่ายยาในเด็กนักเรียนทุกคนก่อนดำเนินกิจกรรมรณรงค์ตรวจหาไข่พยาธิ ซึ่งต่างจากปี ๒๕๕๙ ที่ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ตรวจหาไข่พยาธิก่อนดำเนินกิจกรรมรณรงค์จ่ายยาในเด็กนักเรียนทุกคน ส่งผลให้อัตราความชุก ปี ๒๕๕๙ สูงกว่าปี ๒๕๕๘ แต่ถึงอย่างไรจะเห็นว่าอัตราความชุกของโรคพยาธิในปี ๒๕๕๙ นั้นลดลงจากปี ๒๕๕๖ และปี ๒๕๕๗ มาก เป็นผลต่อเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมหลายปี ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครู นักเรียน และจนท.สาธารณสุข นำไปสู่การแก้ไขปัญหาโรคพยาธิในเด็กนักเรียนอย่างมีส่วนร่วมมากขึ้น อัตราความชุกของโรคพยาธิจึงลดลงทุกปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนพระราชดำริ ต.ศาลาใหม่ ปี 256๐ นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อลดอัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียน

๑. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนไม่เกินร้อยละ ๑๐

2 ๒ เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้เรื่องการป้องกันตนเอง และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคพยาธิ

๒. เด็กนักเรียนที่ส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจมีมากกว่าร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนทั้งหมด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน ๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. ประสานงานโรงเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ ๔. จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ (อุจจาระ) ของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านศาลาใหม่ และโรงเรียนจรรยาอิสลาม เพื่อส่งให้รพ.ตากใบ/สนง.โครงการงานโรคติดต่อฯศูนย์พิกุลทอง ในการตรวจหาไข่พยาธิ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเด็กนักเรียนทั้งหมด (ทั้ง รร.บ้านศาลาใหม่ และรร.จรรยาอิสลาม) จำนวน 1,03๖ คน ๕. ติดตามผลการตรวจสิ่งส่งตรวจจากรพ.ตากใบ/สนง.โครงการงานโรคติดต่อฯศูนย์พิกุลทอง ๖. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้เด็กนักเรียน ๒ โรงเรียน กินยาถ่ายพยาธิต่อหน้าครู/จนท./อาสาสมัคร ๗. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการควบคุมป้องกันโรคหนอนพยาธิ ในกลุ่มเด็กนักเรียนทั่วไป/กลุ่มเด็กที่มีประวัติตรวจพบโรคหนอนพยาธิ (ปี ๒๕๕๙) พร้อมผู้ปกครอง จำนวน ๑๔๐ คน โดยมีการจัดบูธนิทรรศการให้ความรู้ และแจกโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ให้โรงเรียนด้วย (รร.บ้านศาลาใหม่,รร.จรรยาอิสลาม) และมีการประเมินความความรู้ก่อนและหลังจัดกิจกรรม ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๘. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ รายงานแก่ผู้บังคับบัญชา และแจ้งหนังสือผลการตรวจสิ่งส่งตรวจแก่โรงเรียนบ้านศาลาใหม่ และโรงเรียนจรรยาอิสลาม ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๙. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคหนอนพยาธิอย่างต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กนักเรียนทุกคนในโรงเรียนพระราชดำริ ได้รับการตรวจหาไข่พยาธิและได้กินยาถ่ายพยาธิทุกคน ๒. อัตราความชุกของโรคพยาธิในเด็กนักเรียนลดลง ๓. กลุ่มครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน มีความรู้ความตระหนักในการป้องกันตนเอง และมีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 14:36 น.