กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังปัญหาและป้องกันสารเสพติดในโรงเรียน
รหัสโครงการ 61-L3341-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร
วันที่อนุมัติ 28 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกำจัด เกตุนิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหายาเสพติดนั้นถือได้ว่าเป็นปัญหาระดับประเทศ การระบาดที่กระจายตัวอย่างรวดเร็วในสังคมไทย เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากมาก เนื่องจากคนไทยในสมัยปัจจุบันไม่รู้จักการหลีกเลี่ยงเพราะอยากรู้ อยากลองบางคนมีความโลภที่จะหาเงินทางลัด โยการนำมาขายเพื่อหวังกำไรที่มากมายมหาศาล โยไม่คำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรมที่ควรปฏิบัติต่อประเทศชาติ ผลจาการเห็นแก่ตัวของกลุ่มคนเหล่านี้ ส่งผลต่อเด็กเยาวชนของไทยที่จะมีอนาคตในภายภาคหน้าที่สดใส แต่กลับต้องหลงเชื่อ โดยการอยากรู้อยากลองสารเสพติดเหล่านั้น ถูกการชักจูง การมั่วสุม และการหลอกให้เป็นเครื่องมือในการค้าขายสารเสพติด ถ้าเยาวชนทุกคนตกเป็นทาสของยาเสพติดอนาคตของประเทศคงจะพบกับการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงเป็นแน่แท้ ยาเสพติดไม่มีผลดีต่อร่างกายและยังให้โทษอีกมากมายมหาศาล เนื่องจากเยาวชนไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากสังคมอย่างเพียงพอ ครอบครัวควรเป็นแบบอย่างในการให้ความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องกับเยาวชน เพื่อเป็นการช่วยกันขับเคลื่อนไปในทางที่ถูกที่ควร สิ่งเสพติดนั้นจะเข้าหากลุ่มเยาวชนได้อย่างง่ายมาก เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีความคึกคะนองพอสมควร ถ้าปล่อยให้สิ่งเสพติดนั้นทำลายเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ประเทศไทยคงต้องพบกับสิ่งเลวร้ายอย่างยิ่ง จากคำกล่าวที่ว่า เยาวชนเป็นอนาคตของชาติ ถ้าไม่ป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและการหลีกเลี่ยงจากยาเสพติดแก่เยาวชนอนาคตของชาติคงถูกทำลายด้วยยาเสพติดเป็นแน่
        ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้านโหล๊ะหาร ได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเฝ้าระวังปัญหาและป้องกัน      ยาเสพติดในโรงเรียน รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับโทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติด และสุดท้ายขาดไม่ได้คือ การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังปัญหาและป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน ประจำปี 2561 เพื่อป้องกัน สร้างภูมิคุ้มกัน และร่วมรณรงค์ ต่อต้านยาเสพติดอย่างต่อเนื่องให้กับเยาวชนและชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ภายใต้โครงการเรียนรู้การจัดการอย่างเป็นระบบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงให้แก่นักเรียน

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

1.00
2 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจที่เข้มแข็งให้แก่นักเรียน

นักเรียนมีภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจที่เข้มแข็งในระดับดี 

1.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักด้านมหันตภัยของยาเสพติดในระดับโรงเรียนและชุมชน

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีป้องกันภัยจากสิ่งเสพติดในระดับโรงเรียนและชุมชน

1.00
4 เพื่อปฏิบัติกิจกรรม ป้องกัน เฝ้าระวัง ยาเสพติดทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

นักเรียนร้อยละ ๘๐ ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม  ป้องกัน เฝ้าระวัง  ยาเสพติดทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 2 10,000.00
31 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมกีฬาต่อต้านยาเสพติด 0 4,000.00 1,600.00
31 ส.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดจากวิทยากร 0 6,000.00 8,400.00

๑. ขั้นเตรียมการ (Plan) ๑.๑ สำรวจนักเรียนในโรงเรียน โดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มปลอดยาเสพติด กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดยาเสพติด  และกลุ่มที่ติดยาเสพติดแล้ว ๑.๒ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล     ๑.๓ ประชุมคณะดำเนินงาน เพื่อวางแผนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ๑.๔ นำเสนอรูปแบบโครงการเพื่อขอความเห็นชอบ ๑.๕ จัดทำโครงการและนำเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ ๑.๖ ประสานงานกับคณะดำเนินงาน เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ และขอความร่วมมือในการดำเนินการและประชาสัมพันธ์โครงการกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ๑.๗ ประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อแจ้งรายละเอียดโครงการแก่นักเรียน ๑.๘ จัดเตรียมป้ายโครงการ เอกสาร ข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆในการจัดโครงการ ๒. ขั้นดำเนินการ (Do) ๒.๑ ประชุม ชี้แจง และประชาสัมพันธ์โครงการแก่คณะทำงาน นักเรียน ๒.๒ จัดโครงการกีฬาต่อต้านยาเสพติด เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในโรงเรียน และหลีกเลี่ยงจากยาเสพติด     ๒.๓.ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด โดยเชิญวิทยากรจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอป่าบอน และวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร     ๒.๔ ร่วมเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ในชุมชน ๓. ขั้นสรุปและประเมินโครงการ (Check) ๓.๑ ประเมินผลการดำเนินการ ๓.๒ สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ๓.๓ นำเสนอผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีพลานามัยสมบูรณ์ ๒. ผลการเรียนของนักเรียนดีขึ้น ๓. เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน ๔. โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ปลอดยาเสพติด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2561 15:11 น.