กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ประจำปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L3339-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ้านฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง ทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอัตราการป่วยต่อแสนประชากรดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง ๗๐๘.๗๔ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๙๐๑.๓๑ และสำหรับอัตราตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง ๓.๖๔ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๕๕.๒๙ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๕๘) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจาการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องได้แก่ ไม่ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆดังกล่าวได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี รับผิดชอบพื้นที่ในตำบลหารเทา จำนวน ๓ หมู่บ้าน ประชาชน ๒,๙๔๑ คน มีจำนวนหลายกลุ่มเสี่ยง (อายุ ๓๕ ขึ้นไป) จำนวน ๑,๑๐๖ คน และจากการดำเนินงานในโครงการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ มีเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจการคัดกรอง ๙๒๘ คน ร้อยละ ๘๓.๙๐ พบภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ๓๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๓๘ พบภาวะความดันโลหิตสูง ๓๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๖๔ พบภาวะน้ำหนักเกินหรือระดับรอบเอวเกิน ๑๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๐๙ พบผู้สูบบุหรี่ ๑๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ๑๓.๖๓ พบผู้ดื่มสุรา ๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๑๗ พบผู้มีพฤติกรรมบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ๙๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๘ และจากสถิติผู้มารับบริการด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี ๒๕๕๙ พบว่าในคลินิกโรคเรื้อรังมีผู้ป่วยมารับบริการเป็นโรคเบาหวานหวานจำนวน ๙๙ คน และป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ๑๒๗ คน ตามลำดับจากสถานการณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสถานะสุขภาพของประชาชนในเขตพื้นที่ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างเป็นปัญหา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือสร้างเสริมพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สามารถดำเนินการด้วยกลยุทธการส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมี เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เพื่อให้ความรู้และทักษะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและลดความเสี่ยงการเกิดโรค สำหรับประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหารเทาและตำบลฝาละมี เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตที่ดี มีความรู้ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

๑.ประชุมชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มากกว่าร้อยละ ๘๐

2 ๒.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

๒.อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ ๑๐

3 ๓.มีทะเบียนและสมุดบันทึกสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง

๓.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ มากว่าร้อยละ ๕๐

4 ๔.เพื่อให้มีการติดตามภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

๔.มีการจัดตั้งกลุ่ม/ชมรมรักษ์สุขภาพ อย่างน้อย ๑ กลุ่ม/ชมรม ต่อหมู่บ้าน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ขั้นเตรียมการ ๑.๑คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ๑.๒จัดทำหนังสือพันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อใช้เป็นข้อตกลงในการปฏิบัติตัวของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๑.๓จัดทำแบบประเมินภาวะสุขภาพด้วยตนเองที่ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย/จิตใจแบบง่ายที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพและสามารถทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเอง ๑.๔จัดทำประชาคมพร้อมคัดเลือกผู้สมัครใจเป็นแกนนำเพื่อเข้าอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งหมด ๑๕๐ คน ๒.ขั้นดำเนิน ๒.๑จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยกิจกรรมดังนี้ -ผู้เข้ารับการอบรมชั่งน้ำหนัก,วัดส่วนสูง,วัดความดันโลหิต,วัดรอบเอว,วัดรอบสะโพกและทำแบบสัมภาษณ์ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อทดสอบความรู้และประเมินพฤติกรรมสุขภาพก่อนเข้าร่วมโครงการ -ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค/การปฏิบัติตัวเพื่อห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พร้อมฝึกปฏิบัติการใช้แบบประเมินสุขภาพและแปลผล ภาวะสุขภาพของตนเอง -ให้ความรู้สาธิตและปฏิบัติการ เรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย -ให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม -สาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารที่เหมาะสม -สาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดเมนูอาหารตัวอย่าง -ทำแบบทดสอบความรู้หลังอบรม ๒.๒ติดตามตรวจ/ประเมินภาวะสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในหมู่บ้านโดยแกนนำและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในชุมชน ๒.๓สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนได้ ๒.แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาาน/ความดันโลหิตสูงมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ๓.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ดูแลตนเอง ๔.อัตราการตรวจพบโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงของประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2560 15:43 น.