กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กศูนย์ห้วยเรือ ยิ้มสดใสฟันสวยด้วยมือเรา
รหัสโครงการ 60-L3339-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดห้วยเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยพรด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะฟันน้ำนมผุในเด็กเล็ก ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาหลายประการ เช่น ความเจ็บปวดทรมานความแปรผันทางอารมณ์ การสูญเสียฟันน้ำนมกก่อนเวลาอันสมควรทำให้เด็กเคี้ยวอาหารลำบากส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพ และการเริ่มมีฟันน้ำนมผุในซี่ใดซี่หนึ่งจะมีผลต่อการผุของฟันน้ำนมอื่นๆและฟันแท้ที่เริ่มงอกด้วย ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาว ประเทศไทยได้ดำเนินการส่งเสริมและป้องกันฟันผุเด็กปฐมวัยในระบบบริการภาครัฐมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ ตามแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ ๗ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสุขภาพช่องปากทุกระยะ ๕ ปี (ปี พ.ศ.๒๔๔๙-๕๐ และ พ.ศ.๒๕๕๕) พบว่าอัตราการเกิดโรคฝันผุในเด็กปฐมวัยเริ่มลดลง จากร้อยละ ๖๑.๔ เป็นร้อยละ ๕๖.๗ ในแผนการดำเนินงานปี ๒๕๕๖ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพในเด็กปฐมวัยโดยกำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาฟันผุในเด็กปฐมวัย ร้อยละของเด็กอายุ ๓ ปีมีฟันผุไม่เกินร้อยละ ๕๗ ปัจจุบันสังคมไทยให้ความสำคัญกับระบบสุขภาพที่มุ่งเน้นให้มีพัฒนาการของเด็กทั้งร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคฟันผุสามารถทำได้โดยการเริ่มที่บ้านผู้เลี่้ยงดูเด็กให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก บุคลากรสาธารณสุขจะเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลช่องปากและสามารถดูแลสุขภาพเด็กได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังทำการตรวจคัดกรองเด็ก ๙-๑๒,๑๘ และ ๓๐ เดือน และประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุในคลินิกสุขภาพเด็กดี โดยตรวจการมีแผ่นคราบจุลินทรีย์ มีฟันผุระยะแรก มีความผิดปกติของผิวฟันและสอบถามพฤติกรรมการกิจของเด็ก การแปรงฟัน การได้รับฟลูออไรด์ เมื่อประเมินความเสี่ยงของเด็กแล้วพบว่าเด็กที่มีความเสี่ยงต่ำจะให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กที่มีความเสี่ยงสูงจะเพิ่มการสาธิตการแปรงฟันแก่ผู้ปกครอง เด็กที่มีความเสี่ยงสูงและมีฟันผุในระยะแรกหรือมีความผิดปกติที่ผิวฟันจะส่งต่อทันตบุคลากรหรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมเพิ่มเติม เพื่อทาฟลูออไรด์ในการดำเนินงานนี้หากมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยสาเหตุ/ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดโรคฟันผุในเด็ก การตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดตลอดจนการออกแบบกิจกรรมและการให้บริการและนำมาใช้จัดทำแผนงาน/โครงการในการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพฟันเด็กที่ถูกต้อง

๑.ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายเข้าโครงการ

2 ๒.เพื่อให้เด็กมีสุขภาพในช่องปากที่ดี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการแปรงพันที่ถูกต้อง

๒.ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น ๓.ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพช่องปากที่ดีเพิ่มขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ระยะเตรียมการ ๑.๑ศึกษาชุมชน สำรวจข้อมูลทางด้านระบบสุขภาพและข้อมูลด้านอื่น ๑.๒นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมทำการวิเคราะห์ปัญหา ๑.๓ทำประชาคมเพื่อนำเสนอปัญหา/ความจำเป็น/ความต้องการและหาแนวทางแก้ไข ๑.๔จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ ๑.๕ประสานงานและติดต่อผู้เกี่ยวข้อง ๑.๖ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการให้กับชุมชนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ๑.๗ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทาง รพศต.ห้วยเรือ แกนนำชุมชน อสม. และหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ๑.๘จัดเตรียมเอกสาร ป้ายส่งเสริมความรู้ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมให้ความรู้แบบสำรวจ/แบบทดสอบ ๒.ระยะเวลาดำเนินการ ๒.๑ประชุมผู้เกี่ยวข้องและชี้แจงประชาสัมพันธ์โครงการ ๒.๒ประชุมอบรมฟื้นฟูความรู้ ในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่องปากของเด็กอายุ ๓-๔ ปี ๒.๓อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กอายุ ๓-๔ ปี จำนวน ๔๔ คน ๒.๔ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมแปรงฟัน หลังอาหารกลางวันเด็กในอายุ ๓-๔ ปี ๒.๕จัดประกวดหนูน้อยฟันสวย ๒.๖บริการคัดกรองสุขภาพในช่องปากในเด็ก อายุ ๓-๔ ปี จำนวน ๔๔ คน ๒.๗เคลือบฟลูออไรด์วานิชเด็กในอายุ ๓-๔ ปี จำนวน ๔๔ คน ๒.๘ส่งต่อพบทันตแพทย์ดูแลทุกรายที่พบความผิดปกติ ๓.ขั้นสรุปโครงการ ๓.๑ประเมินผลโครงการ ๓.๒สรุปผลโครงการเดือนกันยายน ๒๕๖๐

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เด็กอายุ ๓-๔ ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ ๘๔ ๒.เด็กอายุ ๓-๔ ปี มีอัตราฟันผุลดลง ๓.ผู้ปกครองเด็กมีทัศนคติที่ดีในการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันของเด็ก ๓-๔ ปี ๔.เด็กอายุ ๓-๔ ปี ได้รับการดูแลช่องปากและฟันอย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2560 11:01 น.