กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียนวัยใส รักสุขภาพ ตำบลศาลาใหม่ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2487-1-0013
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบลาส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียนคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี ซึ่งกำลังศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กนักเรียน ซึ่งมาจากที่ต่างๆกัน มีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยที่แตกต่างกันไป โรคที่พบในเด็กนักเรียนและอุบัติเหตุต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ หากนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนทราบแนวทางปฏิบัติต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยได้ และจากการศึกษาโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ. 2544 ได้รายงานว่า ประชากรกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน (6 - 21 ปี) มีจำนวน 17.022 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.4 ของประชากรทั้งประเทศ จำนวนวัยรุ่น อายุระหว่าง 15 - 24 ปี 10.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.1 ของประชากรทั้งประเทศ สถานการณ์ด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้ ภาวการณ์เจริญเติบโตบกพร่อง ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ปัญหายาเสพติดภาวะทันตสุขภาพ (โรคฟันผุ โรคเหงือก) ความผิดปกติของอวัยวะการเรียนรู้ โรคที่เป็นผลจากสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคติดเชื้อ/โรคติดต่อ อุบัติเหตุ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/HIV/เอดส์ และปัญหาสุขภาพจิต (http://tsl.tsu.ac.th/courseware/school) จากบริบทสังคมในพื้นที่ตำบลศาลาใหม่ที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีการส่งเสริมให้ประชากรกลุ่มเยาวชนสร้างครอบครัวมากกว่าการได้รับการศึกษาในระดับที่สูง และไม่ส่งเสริมให้มีการคุมกำเนิด เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆด้าน เช่นหลักคำสอนของอิสลาม ด้านสังคม เศรษฐกิจ ฯลฯ ส่งผลให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ มีการให้บริการงานอนามัยแม่และเด็กจำนวนมาก ซึ่งการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กนั้นมีเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การตั้งครรภ์ การคลอดต้องมีคุณภาพ มารดาและทารกต้องปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ปี 2559 พบว่าหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ทั้งหมดจำนวน 190 คน พบหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (อายุต่ำกว่า 20 ปี) จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะซีดใกล้คลอด จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 12.12 ซึ่งภาวะซีดใกล้คลอดทำให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดในช่วงคลอด และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการกำเนิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ต่ำกว่า 2,500 กรัม) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็กต่ำไปด้วย จากรายงาน ปี 2559 ไม่พบมารดาตาย ไม่พบทารกคลอดตาย แต่พบทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 10.90 และจากการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนและงานควบคุมโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ปี 2559 พบเด็กนักเรียนทั้งหมด 1,913 คน (ทั้ง 5 โรงเรียน: โรงเรียนบ้านโคกมะเฟือง, โรงเรียนบ้านศาลาใหม่, โรงเรียนบ้านคลองตัน, โรงเรียนบ้านปูลาเจ๊ะมูดอ และโรงเรียนจรรยาอิสลาม) ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน ร้อยละ 100 พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคหิดเหา จำนวน 648 คน คิดเป็นร้อยละ 33.87 ได้รับการรักษาแล้วบางส่วน แต่พบปัญหาข้อจำกัดหลายอย่าง เช่นยารักษาหิดเหาไม่เพียงพอ การรักษาทำไม่พร้อมกันทำให้เกิดปัญหาการเกิดโรคซ้ำ และพบโรคอุจจาระร่วงในกลุ่มอายุวัยเรียน (5-15 ปี) จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 22.72 จากอัตราป่วยทั้งตำบล จะเห็นได้พบปัญหาที่เกิดในวัยเรียนมากมายซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการเรียนรู้ต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์คลอดในกลุ่มวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี
  1. ไม่พบหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีเชื้อ HIV
2 2 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และความตระหนักให้วัยรุ่นในการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง

2หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นตั้งครรภ์คลอดในวัยอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี น้อยกว่าร้อยละ 10

3 3.เพื่อป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่และในกลุ่มวัยเรียน

1.อัตราป่วยด้วยโรคเหาในกลุ่มเด็กนักเรียนลดลงจากปี 2559 ร้อยละ 90 2.ไม่พบผู้ป่วยเรื้อนพิการในกลุ่มเด็กนักเรียน 3.ไม่พบโรคไข้เลือดออกในกลุ่มเด็กนักเรียน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์คลอดในกลุ่มวัยรุ่น อายุต่ำกว่า 20 ปี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และความตระหนักให้วัยรุ่นในการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่และในกลุ่มวัยเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน 2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ 3. ประสานงานโรงเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ 4. จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพในเด็กนักเรียนประจำปี การตรวจประเมินโรงอาหาร การตรวจประเมินนมโรงเรียนทุกโรงเรียน และโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ 5. จัดกิจกรรมสุ่มตรวจภาวะเข้มข้นของเลือดของนักเรียนทุกระดับชั้น และเน้นกลุ่มนักเรียนระดับมัธยม พร้อมจ่ายยาบำรุงเลือดสำหรับกลุ่มที่พบภาวะซีด ส่งต่อพบแพทย์ในกลุ่มที่สงสัยผู้ป่วยโรคโลหิตจาง 6. จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเรื้อนในกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาโรคผิวหนัง ส่งต่อพบแพทย์ในกลุ่มที่สงสัยผู้ป่วยโรคเรื้อน 7. จัดคลินิกให้คำปรึกษาการเตรียมตัวแต่งงานในกลุ่มวัยรุ่นวัยเรียนพร้อมจ่ายยาบำรุงเลือด/โฟลิค ก่อนแต่งงานอย่างน้อย 2-3 เดือน และให้คำปรึกษาการวางแผนครอบครัวแก่พ่อแม่วัยใสทั้งเชิงรุกและเชิงรับ 8. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพศศึกษา การวางแผนครอบครัว และการเตรียมตัวมีบุตร ในกลุ่มเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 30 คน โดยมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังจัดกิจกรรม 9. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องควบคุมการป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่และโรคที่เป็นปัญหาสำคัญในกลุ่มเด็กนักเรียน เช่น โรคเรื้อน โรคหิด โรคผิวหนังอื่นๆ โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาจะร่วง โรคเหา ในกลุ่มเด็กนักเรียนนักเรียนและครู จำนวน 126 คน 10. จัดกิจกรรมวันรณรงค์กำจัดหิดเหาทุกชั้นเรียนที่มีปัญหาโรคหิดเหา จำนวน 500 คน พร้อมผู้ปกครอง โดยเน้นกลุ่มเด็กอนุบาลที่ต้องทำทุกคน 11. จัดกิจกรรมรณรงค์การกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ป้องกันโรคติดต่อ และมีกิจกรรมการล้างมือด้วยสบู่เหลวล้างมือในเด็กนักเรียนทุกคนก่อนรับประทานอาหารกลางวันในโรงเรียน 5 แห่ง และ ศพด. 2 แห่ง ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล 12. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ รายงานแก่ผู้บังคับบัญชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 4 การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง 13. ประชาสัมพันธ์รณรงค์การกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 14. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเตรียมตัวมีบุตร และการฝากครรภ์สำหรับคู่สมรสใหม่/ในกลุ่มวัยรุ่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรคที่เป็นปัญหาในกลุ่มวัยเรียนมีอัตราที่ลดลง
  2. กลุ่มวัยเรียนมีสุขภาพแข็งแรงพร้อมเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
  3. กลุ่มครู กลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มวัยเรียนวัยรุ่นมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2560 11:57 น.