โครงการชุมชนลด ละ เลิกบุหรี่่ ลดโรคไม่ติดต่อ
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนลด ละ เลิกบุหรี่่ ลดโรคไม่ติดต่อ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะต๊ะ |
วันที่อนุมัติ | 23 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 29,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะต๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.426,101.407place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 16 มิ.ย. 2560 | 16 มิ.ย. 2560 | 29,800.00 | |||
รวมงบประมาณ | 29,800.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็สาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะเทคนิคการแพทย์ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโครยาสูบ มุ่งให้มีการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่จะทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุจภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัวและของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ องค์การนอนามัยโลก ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี "วันงดสูบบุหรี่โลก" ขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งต่อผู้สูลเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็กก็จะยิ่งเป็นอันตรายมาขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทานทางโรคค่อนข้างต่ำและยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้นั้น งานวิจัยยังพบว่าในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรีาส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูบและตดบุหรี่ตั้งแต่อยู่ในวัยรุ่น นช่วงอายุ 11 - 18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชน ในช่วงอายุ 19 - 25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้นในช่วงอายุ 25 - 35 ปี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 60 - 31 พ.ค. 60 | โครงการชุมชนลด ละ เลิก บุหรี่และโรคไม่ติดต่อ | 250 | 29,800.00 | ✔ | 29,800.00 | |
รวม | 250 | 29,800.00 | 1 | 29,800.00 |
- อบรมให้ความรู้กลุ่มบุคคลวัยทำงาน ถึงพิษภัยของบุหรี่ วิธีการเลิกบุหรี่
- ติดตามสมาชิกในชุมชนที่สมัครใจละ ละ เลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง 3 เดือน
- ดำเนินการให้สถานที่สาธารณะ เช่นมัสยิด โรงเรียนเป็นเขตปลอดบุหรี่
- สถานที่สาธารณะต่าง ๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามที่กฎหมายกำหนด
- กลุ่มคนวัยทำงานในพื้นที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ ร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ที่สมัครใจเลิกบุหรี่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2560 15:27 น.