กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ แผนงานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รหัสโครงการ 60-50119-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.549,99.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ธ.ค. 2559 13 ธ.ค. 2559 15,875.00
รวมงบประมาณ 15,875.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคมโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานองค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยได้มีการนำแผนที่ยุทธศาสตร์(Strategy Map) หรือแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนสุขภาพ ฯ พร้อมทั้งการค้นหากองทุน ฯ ต้นแบบ ที่มีผลงานดีเด่นด้านการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่ ปี 2549จนถึงปีปัจจุบัน ปี 2557 ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน พ.ศ.2557 กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อหิน มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ จัดทำและพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนกองทุน รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี และจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆในการบริหารจัดการกองทุนฯ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพอื่น

คณะกรรมการและตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมฯ

2 2. เพื่อให้คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่และผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจการบริหาร กองทุนไปในทิศทางเดียวกัน

คณะกรรมการและตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมฯ

3 3. เพื่อให้เกิดการประชาสัมพันธ์ และเพื่อการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่โดยเน้นให้เกิดการมี ส่วนร่วมกันแบบบูรณาการ

จัดประชุมจำนวน 4 ครั้ง

4 4. เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพประจำปี

คณะกรรมการและตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมฯ

5 5. เพื่อเป็นการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

คณะกรรมการและตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมฯ

6 เพื่อพิจารณาโครงการแต่ละประเภทที่เสนอมา

จำนวนโครงการที่ได้รับการพิจารณา

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง เพื่อ จัดทำร่างและพิจารณาแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพประจำปี และพิจารณารายละเอียดโครงการ
  2. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพประจำปี
  3. ติดตามรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพผ่านโปรแกรมรายงานผลการดำเนินงานในระบบออนไลน์ เช่น การส่งเงินสมทบ การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
  4. จัดทำสื่อเอกสารเผยแพร่งานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
  5. สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
  6. สำรวจความพึงพอใจของผู้ให้บริการต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
  7. งานอื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารระบบหลักปะกันสุขภาพในพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพอื่น
  2. ทำให้คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในพื้นที่และผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจการบริหารกองทุนไปในทิศทางเดียวกัน
  3. ทำให้เกิดการประชาสัมพันธ์ และเพื่อการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่โดยเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมกันแบบบูรณาการ
  4. จัดทำแผนปฏิบัติการกองทุนหลักประกันสุขภาพประจำปี
  5. สามารถติดตามผลการดำเนินงานกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
  6. ค้นหานำเสนอนวัตกรรมและคัดเลือกพื้นที่ที่มีการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ที่มีผลงานดีเด่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2559 14:36 น.