กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L3332-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักษ์สุขภาพ รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 สิงหาคม 2561 - 14 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมพร โต๊ะหวัง/ประธานชมรมคนรักษ์สุขภาพ รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า
พี่เลี้ยงโครงการ นายพิลือ เขียวแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.435,100.197place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (58,950.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีการระบาดต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๐ ได้ทวีความรุนแรงและมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ทำให้มีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออก ทุกกลุ่มอายุและทุกวัย โดยคาดว่าจะมีจานวนผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดปี หากไม่มีการเร่งรัดป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยเป้าหมายหลักคือ ต้องร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี ๒๕๖๐ ของจังหวัดพัทลุง พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน ๑,๐๗๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๐๔.๕ ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และ จากระบบรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาอำเภอบางแก้ว พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน ๓๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๒๕.๑๓ ต่อประชากรแสนคน โดยพบตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือ ตำบลท่ามะเดื่อ อัตราป่วยเท่ากับ ๑๕๖.๑๗ ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคือ ตำบลโคกสัก อัตราป่วยเท่ากับ ๑๔๐.๑๒ ต่อประชากรแสนคน และตำบลนาปะขอ อัตราป่วยเท่ากับ ๘๘.๙ ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ มีแนวโน้มการระบาดของโรคกระจายไปทุกพื้นที่ในเขตอำเภอบางแก้ว และเมื่อเทียบกับอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๕๙ อัตราป่วยเท่ากับ ๒๒๗.๑๘ ต่อประชากรแสนคน จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยลดลง เนื่องจากการได้ดำเนินโครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง นั้น
    จากปัญหาดังกล่าว ประชาชน แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวและ อสม.หมู่ที่ 1 , 3 , 9 , 10,11 และหมู่ที่ ๑4 ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว ได้เห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยมีความเห็นร่วมกันที่ จะให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว เป็นผู้มีบทบาทกระตุ้นเตือนชุมชนและร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในชุมชน และให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงได้ทำโครงการ อสม.ร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อให้ชุมชนดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

 

0.00
3 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่

 

0.00
4 เพื่อลดค่า HI CI ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือเท่ากับศูนย์

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 58,950.00 1 58,950.00
17 ส.ค. 61 - 14 ก.ย. 61 ออกสำรวจและรณรงค์ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก 0 58,950.00 58,950.00

๑. ประสานงานกับผู้นำชุมชน/อบต./อสม./และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน ในครั้งนี้ ๒. ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนทางหอกระจายข่าว แจกเอกสารแผ่นพับ
๓. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกวันศุกร์ โดย อสม. โดยใช้แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ๔. ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำทุกหลังคาเรือน ๕. ออกสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า และอสม. รพ.สต. บ้านหาดไข่เต่า สลับกันตรวจแต่ละหมู่บ้าน จะต้องมี ค่า HI และค่า CI ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือเท่ากับศูนย์ ๖. ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒.ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ ๓. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2561 16:30 น.