กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 20 สิงหาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 สิงหาคม 2561 -
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2561
งบประมาณ 28,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที ๒ บ้านกาแบง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านกาแบง หมู่ที่ ๒ ตำบลแหลมสน
ละติจูด-ลองจิจูด 6.946,99.713place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 ส.ค. 2561 31 ธ.ค. 2561 28,600.00
รวมงบประมาณ 28,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๓๒ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๓๔๓.๙๗ ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยทุกหมู่บ้าน ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานย้อนหลัง ๕ ปี เทียบกับปี ๒๕๕๖ แลุหมู่ที่ ๒ บ้านกาแบงในปี ๒๕๖๑ พบจำนวนผู้ป่วย ๘ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๒๖๙.๘๔ ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาหรือไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน ๒ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๓๑๗.๔๖ ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ๑ มกราคม - ๓๑ กรกฏาคม ๒๕๖๑) ที่มา : E1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมส หากมองข้อมูลอาจพบว่าจำนวนผู้ป่วยน้อย แต่มาตรฐานทางด้านสาธารณสุขมองในเรื่องของอัตราการป่วยต่อแสนประชากรเป็นสำคัญ ซึ่งบ้านกาแบงมีอัตราป่วยที่สูง ประกอบกับหมู่บ้านข้างเคียงมีผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกหมู่บ้านและด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในปัจจุบันตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๐ จนถึงปี ๒๕๖๑ เป็นต้นมา มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี จึงทำให้มีน้ำท่วมขัง ประกอบกับพื้นที่ตำบลแหลมสน เป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำ จึงมักมีการเก็บกักรับรองน้ำไว้ในภาชนะขังน้ำจำนวนมาก นับเป็นแหล่่งแพร่พันธ์ของลูกนำยุงลาย และภาชนะไม่มีการปกปิดป้องกันการวางไข่ของยุงลาย และเป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าว มักพบกะลามะพร้าวขังน้ำจำนวนมากอีกด้วย ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านกาแบง จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และไข้ปวดข้อยุงลาย ที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการระบาดขึ้นในพื้นที่ จึงได้จ้ดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกไข้ปวดข้อยุงลายขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกปละไข้ปวดข้อยุงลายในหมู่บ้าน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำหลักร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดความชุกชุมของยุงลายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข คือค่า HI ไม่เกิน ๑๐ ค่า CI ไม่เกิน ๑๐

ยุงลายไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข  คือ ค่า HI  ไม่เกิน ๑๐  ค่า CI  ไม่เกิน ๑๐

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

คนในชุมชนเป็นโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลายลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,600.00 0 0.00
31 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 ประชาสัมพันธ์ 0 1,000.00 -
31 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 จัดซื้อทรายทีมีฟอส 0 9,600.00 -
10 ก.ย. 61 ประชุมชี้แจง 0 12,000.00 -
27 ก.ย. 61 - 31 ธ.ค. 61 เดินรณรงค์ 0 6,000.00 -

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานรวมถึงแผนการดำเนินงาน - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้่านนักประชุมหารือกับทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน เพื่อกำหนด วัน เวลา สถานที่ และกิจกรรม - เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง - ประสานวิทยากร ขั้นดำเนินการ มีกิจกรรมดังต่อไปนี้ - ประชุมชี้แจงให้ความรู้พร้อมทั้งคืนข้อมูลสถานการณ์ให้ชุมชนรับทราบ เพื่อกำหนดกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ร่วมกัน - รณรงค์ใส่ทรายทีมีฟอสและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในทุกมู่บ้าน ตามแผนการรณรงค์โดยสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย จำนวน ๒๐๔ หลังคาเรือน รณรงค์ทั้งหมด ๔ ครั้ง - ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงานโครงการผ่านหอกระจายข่าว - สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และคืนข้อมูลสู่ชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย บ้านกาแบง หมู่ที่ ๒ ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในหมู่บ้าน จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดไข้เลือดออกในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2561 13:41 น.