โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๓ บ้านบุโบย |
วันที่อนุมัติ | 20 สิงหาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 31 สิงหาคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 28,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๓ บ้านบุโบย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.946,99.713place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 31 ส.ค. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 28,600.00 | |||
รวมงบประมาณ | 28,600.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ด้วยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตุูล ในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๓๒ ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ ๑,๓๔๓ฬ๙๗ ต่อแสนประชากรและพบผู้ป่วยทุกหมู่บ้าน ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี เทียบกับปี ๒๕๕๖ และหมู่ที่ ๓ บ้านบุโบย ในปี ๒๕๖๑ พบจำนวนผู้ป่วย ๑๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๓๕๖.๓๕ ต่อแสนประชากร และพบผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาหรือไข้ปวดยุงลาย จำนวน ๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๔๙๓.๒๑ ต่อแสนประชากร (ข้อมูล ๑ มกราคม - ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑) ที่มา : E1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมสน หากมองข้อมูลอาจพบว่าจำนวนผู้ป่วยน้อย แต่มาตรฐานทางด้านสาธารณสุขมองในเรื่องของอัตราการป่วยต่อแสนประชากรเป็นสำคัญ ซึงบ้านบุโบยป่วยสูงที่สุดในตำบลแหลมสน ประกอบกับหมู่บ้านข้างเคียงมีผู้ป่วยไข้เลือดออกทุกหมู่บ้้านและด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพดิน ฟ้า อากาศในปัจจุบันตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๐ จนถึงปี ๒๕๖๑ เป็นต้นมา มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี จึงทำให้มีน้ำท่วมขังประกอบกับพื้นที่ตำบลแหลมสน เป็นพื้นที่ขาดแคลนน้ำ จึงมักมีการเก็บกัก รับรองน้ำไว้ในภาชนะขังน้ำจำนวนมาก นับเป็นแหล่งแพร่พันธ์ของลูกน้ำยุงลาย และภาชนะไม่มีการปกปิดป้องกันการวางไข่ของยุงลาย และเป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าง มักพบกะลามะพร้าวขังน้ำจำนวนมากอักด้วย ดังนั้นทางอาาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านบุโบย จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและไข้ปวดข้อยุงลาย ที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการระบาดขึ้นในพื้นที่ จีงได้มีการจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และไข้ปวดข้อยุงลายขึ้น เพื่อป้องกันและควบคุมการระบดาของโรคไข้เลือดออกในทุกหมู่บ้านโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำหลักร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดความชุกชุมของยุงลายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข คือค่า HI ไม่เกิน ๑๐ ค่า CI ไม่เกิน ๑๐ ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายไม่เกินเกณฑ์มาตรฐษนสาธารณสุข คือค่า HI ไม่เกิน ๑๐ ค่า CI ไม่เกิน ๑๐ |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย คนในชุมชนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายลดน้อยลง |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
31 ส.ค. 61 - 31 ต.ค. 61 | ประชุมชี้แจง | 100 | 12,000.00 | - | ||
31 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 | เดินรณรงค์ | 50 | 6,000.00 | - | ||
31 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 | ประชาสัมพันธ์ | 0 | 1,000.00 | - | ||
31 ส.ค. 61 - 31 ธ.ค. 61 | จัดซื้อทรายทีมีฟอส | 0 | 9,600.00 | - | ||
รวม | 150 | 28,600.00 | 0 | 0.00 |
ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของ บ้านบุโบย หมู่ที่ ๓ ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ส่งผลให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในหมู่บ้าน จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2561 14:51 น.