กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L4147-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ทีมเฝ้าระวังและสอบสวนเคลื่อนที่เร็วตำบลบาโงยซิแน
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2018
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุพงศ์ ดอคา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.527,101.153place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (คน)
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำ ให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมการจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไป ปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นมีการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำ ที่มนุษย์สร้างการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ การเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่ เป็นไปอย่างรวดเร็ว จากรายงานเฝ้าระวังสถานการณ์ไข้เลือดออก เขต 12 ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม 2561ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สถานการณ์ไข้เลือดออกในปี 2560 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก (Dengue fever: DF, Dengue hemorrhagic fever: DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม52,049ราย อัตราป่วย 79.55 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 62 ราย ในพื้นที่เขต 12 พบผู้ป่วย 6,710 ราย อัตราป่วย 137.91 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 16 รายสงขลา 5 ราย ตรัง 2 รายนราธิวาส 3 ราย ยะลา 3ราย สตูล 2 ราย ปัตตานี 1 รายและ พัทลุง 0ราย สำหรับพื้นที่จังหวัดยะลา พบผู้ป่วย 288 ราย อัตราป่วย 55.92 ต่อประชากรแสนคน ข้อมูลจากรายงาน 506 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 พื้นที่อำเภอยะหา พบผู้ป่วยจำนวน15 ราย ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต พื้นที่ตำบลบาโงยซิแน พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต จากปัญหาดังกล่าว จึงนำเข้าสู่การทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของปัญหาและจากการทำเวทีประชาคมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่พบว่าประชาชนยังไม่ตระหนักและให้ความสำคัญกับการควบคุมป้องกันแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ประกอบกับบริบทชุมชน เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีประชากรหนาแน่น
    ชุมชนตำบลบาโงยซิแน และโรงพยาบาลส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงยซิแน จึงได้เสนอแนวคิด “การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน”ขึ้น โดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนและต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการคนบาโงยซิแนใส่ใจ ควบคุม ป้องกันโรคนำโดยแมลง ปี 2561

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคติดต่อนำโดยแมลง

ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคนำโดยแมลง

0.00
2 2. เพื่อให้มีการพัฒนาบ้านสะอาด รอบบ้านน่ามอง ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนสถานที่ราชการ มัสยิดและโรงเรียน

จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนสถานที่ราชการศูนย์เด็กมัสยิดมีค่าเท่ากับร้อยละ 0 (CI = 0)

0.00
3 3. เพื่อให้หลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี 100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค

ร้อยละของหลังคาเรือนที่มีผู้ป่วยได้รับการพ่นหมอกควันและการเฝ้าระวังโดยรอบรัศมี 100 เมตรจากบ้านที่เกิดโรค (ร้อยละ)

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 69,000.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 61 การอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 17,600.00 -
1 - 31 ก.ค. 61 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 0 23,000.00 -
1 - 31 ส.ค. 61 การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดตัวเต็มวัย 0 28,400.00 -
  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชนในทุกหมู่บ้านเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ และไปถ่ายทอดให้แก่แกนนำครอบครัวในเขตรับผิดชอบเนื้อหาหลักสูตร เน้น การนำความรู้สู่การปฏิบัติ จำนวน 80 คน หลักสูตร 1 วัน

  2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้โดย จนท/อสม./แกนนำ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไข้ปวดข้อยุงลายไข้มาลาเรียพร้อมทั้งกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติโดยใช้รถยนต์ประชาสัมพันธ์และรถจักรยานยนต์ พร้อมให้สุขศึกษาผ่านสื่อต่างๆเช่นในช่วงก่อนการละหมาดวันศุกร์หอกระจายเสียงโรงเรียนฯลฯและจัดนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนให้รู้จักการป้องกันตนเองให้ถูกวิธีเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

  3. จัดหา และทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆคือป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์  แผ่นพับความรู้ สื่อประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่

  4. อสม/แกนนำ นำสื่อที่ผลิตไปประชาสัมพันธ์ทุกบ้านในเขตรับผิดชอบ โดยเน้นการปฏิบัติตัวในการป้องกัน และควบคุมโรค

  5. การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายโดยชุมชนโรงเรียน

  6. อสม./แกนนำ สำรวจลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบ และส่งแบบสำรวจทุกเดือน

  7. กำจัดตัวเต็มวัยโดยการพ่นหมอกควัน แจกสารเคมีกำจัดยุงลายชนิดสเปรย์ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ภายในบ้านและรอบบ้านผู้ป่วยและบ้านกลุ่มเสี่ยงรัศมี 100 เมตรและมีการดำเนินการทุกสัปดาห์จนครบ 4 ครั้งโดยจนท. แกนนำ และอสม.

  8. การจัดหาซื้อน้ำยาและน้ำมันในการพ่นหมอกควัน

  9. เน้นการใช้สมุนไพร ในการป้องกันยุงกัด โดยการรณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หอมโดยเฉพาะบ้าน อสม

  10. จ้างเหมาแกนนำในการพ่นหมอกควันทำลายตัวเต็มวัยในโรงเรียน มัสยิด ตาดีกา และบ้านกลุ่มเสี่ยงทั้งตำบล

  11. ให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำ และใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชนทุกหลังคาเรือนทุก 3 เดือน

  12. จัดกิจกรรมรณรงค์บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลายและปฏิบัติตามพันธะสัญญาอย่างจริงจัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อนำโดยแมลง

  2. ประชาชน, นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม และป้องกันโรค จนสามารถดำเนินการควบคุม และป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงได้เองอย่างต่อเนื่อง

  3. สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2018 09:54 น.