เฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
ชื่อโครงการ | เฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี |
รหัสโครงการ | 60-L3065-2-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ต.ตุยง |
วันที่อนุมัติ | 30 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2560 |
งบประมาณ | 19,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ต.ตุยง |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมะรอกี เวาะเล็ง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.832,101.178place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 929 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
นโยบายกระทรวงสาธารณสุขและจุดเน้นประเด็น smart kids ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีในกลุ่มปฐมวัย 0-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้องและจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน 0 – 5 ปี พบว่าพื้นที่เขตตำบลตุยงในไตรมาสที่ผ่านมา มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์37คนจากเด็กทั้งหมด829คนคิดเป็นร้อยละ9.18 น้ำหนักค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์34คนคิดเป็นร้อยละ8.43ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไม่เกินร้อยละ7และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตุยง จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก0 - 5 ปี
|
||
2 | เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
|
||
3 | เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ในโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
|
||
4 | เพื่อให้เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประชุมชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินงานและอบรมพัฒนาศักยภาพอสม.
ในงานโภชนาการ - สำรวจข้อมูลเด็ก 0- 5 ปี
- จัดหาเครื่องชั่งน้ำหนักและสายวัดความยาวเด็ก 0-5 ปี
- ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในชุมชน
- บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูง ในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพูพร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบ 6อบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อย หรือผอม
- สรุปผลการดำเนินงาน
- เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม
- ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 -5 ปี ลดลง
- ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2560 12:20 น.