กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุน
รหัสโครงการ 60-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขาฯกองทุน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภาพร คงพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.473,99.989place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 ข้อ 7 (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 % ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์จะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000.-บาท ต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอนุโลมครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้กิจกรรมของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลชะรัด ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน ฯ จึงมีความจำเป็นต้องมีงบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน ฯ ตลอดปีงบประมาณ 2560)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ

คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน มีความรู้และเข้าใจการดำเนินงานกองทุนเพิ่มขึ้น

2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

คณะกรรมการกองทุนมีความเข้าใจในการอนุมัติแผนงานหรือโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน

3 เพื่อสร้างประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่นวัตกรรมชุมชน

คณะกรรมการกองทุนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมของกองทุนอื่นๆ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
21 ก.พ. 60 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 1/60 17 5,525.00 4,200.00
25 เม.ย. 60 ประชุมอนุวิชาการ ครั้งที่ 1/60 8 1,800.00 1,200.00
19 พ.ค. 60 ประชุมคณะกรรมการกองทุนครั้งที่ 2/60 17 5,525.00 4,925.00
24 พ.ค. 60 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 3/60 17 5,525.00 5,525.00
4 ก.ค. 60 ประชุมอนุพัสดุกองทุน 4 900.00 0.00
22 ก.ย. 60 ประชุมคณะกรรมการกองทุน ครั้งที่ 4/60 17 5,525.00 4,625.00
25 - 26 ก.ย. 60 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กองทุนต้นแบบ 30 45,200.00 45,200.00
รวม 110 70,000.00 7 65,675.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ - กำหนดวันประชุมจัดทำแผน - กำหนดสถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้1 ครั้ง/ปี 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในกิจกรรม - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม และประสานงานสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้


  1. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด

- จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการคณะทำงานและผู้แทนชุมชน (30 คน)เพื่อให้ความรู้และจัดทำแผนการดำเนินงานรายปี และแผน 4 ปี จำนวน 14 ชุมชน ๆ ละ 30คน (120 คน) - จัดประชุมคณะกรรมการกองทุน ปีละ 5 ครั้ง - จัดประชุมอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ ปีละ 2 ครั้ง - จัดประชุมอนุกรรมการฝ่ายพัสดุ การเงิน และบัญชี ปีละ2 ครั้ง - จัดส่งเจ้าหน้าที่อบรมงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากองทุน ตามความจำเป็นและเหมาะสม - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กองทุนต้นแบบเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนและอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆปีละ 1 ครั้ง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการคณะทำงานและแกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน 2. การเสนอแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 3. มีแผนการดำเนินงานกองทุน ๆ ตลอดปีงบประมาณ 2560และมีแผนสุขภาพระยะยาว คือแผน 4 ปี 4. คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการคณะทำงานและแกนนำสุขภาพมีศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นรับทราบถึงบทบาทและหน้าที่ชัดเจนขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2560 14:18 น.