กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
รหัสโครงการ 003/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 1 ต.เจ๊ะบิลัง อ.เมือง จ.สตูล
วันที่อนุมัติ 22 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองจังหวัดสตูล เป็นตำบลที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากทั้งประชากรที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์และประชากรแฝง สภาพทางสังคมของประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อาชีพส่วนใหญ่ เกษตรและรับจ้าง ระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับประถมศึกษา สภาพที่อยู่อาศัยอยู่กันกระจัดกระจาย มีการคมนาคมสะดวก พื้นที่ติดทะเลและประเทศมาเลเซีย ทำให้มีการเดินทางไปประกอบอาชีพในต่างแดน ส่งผลให้เกิดการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพ ตำบลเจ๊ะบิลังจึงได้รับวัฒนธรรมและประเพณีจากประเทศมาเลเซียค่อนข้างมาก เช่น การแต่งงานเร็ว มีบุตรมาก เป็นต้น ตำบลเจ๊ะบิลังมีประชากรโดยรวมประมาณ 12,000 คน ส่งผลให้เกิดปัญหาสาธารณสุขค่อนข้างมาก เช่นเด็กมีพัฒนาการล่าช้า เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการ ปัญหายาเสพติดของเยาวชน ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ปัญหาโรคเรื้อรังปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการ ปัญหาผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น และจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเน้นส่งเสริมสุขภาพการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการใช้ยาในการรักษาโรคและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ พัฒนาศักยภาพเพื่อ ป้องกันการตายก่อนวัยอันควร ลดการป่วยอันเป็นภาระโรค จัดการปัจจัยเสี่ยงและภัยสุขภาพ เป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการกับสภาวะสุขภาพของตนเองบุคคลและชุมชน
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที ๑ ตำบลเจ๊ะบิลังอำเภอเมืองจังหวัดสตูล ได้เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ประชาชนในชุมชนได้มีสุขภาวะที่ดี ทั้งทางด้าน กายจิตสังคม และสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายมากขึ้น

ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายมากขึ้น

2 ๒.เพื่อต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารมากขึ้น

ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารมากขึ้น

3 ๓.เพื่อต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ

ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑.เพื่อต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายมากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒.เพื่อต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารมากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ๓.เพื่อต้องการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

การดำเนินงานแบ่งออกเป็น ๔ กิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ ส่งเสริม สนับสนุนการออกกำลังกายและการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน ๑.ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย
๒.สนับสนุนการออกกำลังกาย โดยวิธีแอร์โรคบิค กิจกรรมที่ ๒ ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมแข่งขันกีฬาเปตอง ๑.อบรมให้ความรู้ เรื่องการออกกำลังกาย และความเข้าใจในกติกา การเล่น เพื่อให้เกิดความสามัคคี ๒.จัดการแข่งขันกีฬาเปตอง กิจกรรมที่ ๓ ส่งเสริม สนับสนุนการบริโภคอาหารปลอดสารพิษและปลูกผักกินเอง ๑.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ ๒.สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก กิจกรรมที่ ๔ ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ ๑.ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะไปใช้ ๒.รณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้น คาดว่า ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้น และเกิดกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2560 14:29 น.