กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อบรมฟื้นฟูให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รหัสโครงการ 61-L2515-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสามัคคี
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2561 - 19 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2561
งบประมาณ 25,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายลาริ มูโบ, นางสีตีตีเมาะ นิแต, นางนูรีสา บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระบบการจัดการด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านการดำเนินงานด้านสุขภาพหมู่บ้านที่จะมีระบบการจัดการสุขภาพที่สมบูรณ์ และดำเนินไปสู่ความสำเร็จได้นั้นมีหลายๆปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องตนเอง และพัฒนาสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นตัวแทนของคนในกลุ่มของหมู่บ้าน โดย 1 คนรับผิดชอบ 1–15 ครัวเรือน  ซึ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจรวมถึงมีทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชนได้ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะการจัดการระบบสุขภาพในหมู่บ้านซึ่งเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้สุขภาพของคนในชุมชนเริ่มต้นจากการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับทัศนคติและบทบาท  สร้างจิตสำนึกศรัทธาความรักความสามัคคีเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำให้มีศักยภาพในการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพด้วยตนเองอย่างเป็นที่ยอมรับของสังคมด้วยการสร้างความเป็นผู้นำที่มีผลงานสูงสร้างมาตรฐานแนวปฏิบัติและให้ความสำคัญต่อกระบวนการเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างชุมชนที่เอื้อต่อการจัดการ ระบบสุขภาพภาคประชาชนผ่านตามกระบวนการการเรียนรู้ต่างๆอย่างเป็นระบบตามโครงสร้างของชุมชนทำให้เกิดเวทีประชาคม สุขภาพศูนย์การเรียนรู้สังเคราะห์บทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพชุมชนจากประสบการณ์จริงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ทำงานด้วยใจรักจิตอาสาเป็นผู้ให้ไม่หวังผลตอบแทน ทำงานเพื่อส่วนรวมให้ความช่วยเหลือผู้อื่นรวมทั้งเป็น  ผู้ใส่ใจและมีความรู้ด้านสุขภาพเป็นอย่างดี มีสัมพันธภาพที่ดีและได้รับความไว้วางใจจากคนในชุมชนประกอบกับปัจจุบันนี้ในชุมชนกำลังประสบปัญหาคือ“ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น”และมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและทุพพลภาพระยะยาวเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งเข้าถึงบริการสุขภาพไม่ได้เมื่อเจ็บป่วย
ในการนี้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของตำบลสามัคคี จึงได้จัดให้มีโครงการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถตามสภาพปัญหาและสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นเนื้อหาความรู้ตามหลักสูตรอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพตนเองคนในครอบครัวและในชุมชนเกิดการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบยั่งยืนต่อไป ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนโครงการ  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงอบรมฟื้นฟูให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสามัคคีขึ้น เพื่อดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวไปอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในชุมชนของตนเอง 2เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทางด้านวิชาการสาธารณสุขเพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติและแก้ไขปัญหาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.3.เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาความรู้และสามารถดำเนินงานสุขภาพชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง 2.4 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตและเบาหวาน 2.5 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานด้านการจัดทำแผนสุขภาพในชุมชน 2.6 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถทำงานเชิงรุก โดยการเป็นผู้นำทางความคิดและผู้นำทางสุขภาพในระดับชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ๕ โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต และโรคมะเร็ง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ประชุมเพื่อเตรียมดำเนินงาน 2 เขียนโครงการและขออนุมัติตามลำดับขั้นตอน 3 ประสานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ ดำเนินงานตามโครงการ
4 จัดอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพ 5 ทดสอบก่อนและหลังการอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในการดำเนินงาน     6 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชน 7 ติดตามการปฎิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหลังจากการอบรม 8 ประเมินผลโครงการหลังจากการอบรม ความรู้และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข 9 สรุปผลการดำเนินงานหลังจากการอบรมแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินงานเฝ้าระวังทางสุขภาพในชุมชนได้ สามารถค้นหาปัญหาสภาวะสุขภาพในชุมชน
2.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถจัดทำแผนสุขภาพในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดกรองผู้ป่วยความดันโลหิตและเบาหวาน 3.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งในด้านการบริหารวิชาการและการปฏิบัติเพื่อยกระดับการบริการประชาชนและมีหน้าที่ในการสร้างและบริการชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม
4.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการศึกษาต่อเนื่องด้วยตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2561 11:20 น.