กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2561

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 4/2561
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลกลางใหญ่
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 68,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เทศบาลตำบลกลางใหญ่
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอุทัยวรรณ ขันธะชัย
พื้นที่ดำเนินการ ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทพพัฒนา อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
ละติจูด-ลองจิจูด 17.785,102.375place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ก.พ. 2561 28 ก.พ. 2561 68,900.00
รวมงบประมาณ 68,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่ (อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่
10.00
2 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่
1.00
3 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงาน เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ (คน)
20.00
4 ร้อยละของผู้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ (เลิกติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ)
20.00
5 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้าน)
3.00
6 จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ (จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)
1.00
7 มาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ(จำนวนมาตรการ)
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางสุขภาพที่ร้ายแรง บุคลการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะนักเทคนิคการแพทย์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสำคัญ ในการรณรงค์เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ มุ่งให้มีการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เนื่องจากการงดบริโภคยาสูบหรือการหยุดสูบบุหรี่ จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคยาสูบหรือการสูบบุหรี่ลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ สุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ได้ ของสมาชิกในครอบครัว และของผู้อื่นในสังคมดีขึ้น ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวและประเทศชาติในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่มีสาเหตุแห่งความเจ็บป่วยมาจากการบริโภคยาสูบหรือารสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบ หรือการเลิกสูบบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มี "วัดงดสูบบุหรี่โลก" (World No Tobacco Day) ขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ. 2559 องค์การอนามัยโลกได้ให้คำขวัญว่า "Get ready for plain packaging" หรือ "ซองบุหรี่แบบเรียบ ลดภัยเงียบ ลดโรค " โดยให้ความสำคัญต่อการปกป้องเด็กและสตรี มิให้กลายเป็นเหยี่อของอุตสาหกรรมบุหรี่ รวมทั้งปกป้องสิทธิการมีสุขภาพที่ดีของผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของบุคคลอื่น หรือที่เรียกว่าผู้สูบบุหรี่มือสอง (secondary or passive smokers) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา องค์การอนามัยลกได้มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยสนับสนุนให้บุคลกรทางการแพทย์ และสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพร่วมมือกันก่อตั้ง "เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่" อันประกอบไปด้วย 7 สาขาวิชาชีพ ในระยะแรก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด ซึ่งต่อมาเครือข่ายฯ ได้ขยายออกไปเป็น 17 วิชาชีพ ที่เพิ่มมาอีก 17 วิชาชีพ ได้แก่ หมออนามัย จิตวิทยาคลินิก แพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทยประยุกต์ รังสีเทคนิค เวชนิทัศน์ สัตวแพทย์ เวชศาสตร์การกีฬา และศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โดยมีเป้าหมายในการร่วมมือกันรณรงค์ต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ จัดกิจกรรมควบคุมการบริโภคยาสูบ และรณรงค์การลด ละ เลิกการสุบบุหรี่ เพื่อให้การต่อต้านพิษภัยควันบุหรี่ มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง สัมฤทธิผล และนำไปสู่เป้าหมาย "สังคมไทยปลอดบุหรี่" ได้ในที่สุด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคน ซึ่งเทียบเท่ากับเดือนละเกือบ 11,000 คน หรือวันละ 8 คน และในบุหรี่มีสารเคมี 4,000 กว่าชนิด เช่น formaldehyde (สารเคมีที่ใช้ดองศพ) carbon monoxide (เช่นเดียวกับควันจากท่าไอเสียเครื่องยนต์) สาร acetone (สารเคมีที่ใช้ล้างเล็บ) ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งต่อผู้สูบเองและผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เป็นเด็ก ก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น เนื่องจากเด็กยังมีภูมิต้านทางโรคค่อนข้างต่ำ และยังไม่สามารถป้องกันตนเองจากการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใหญ่ได้ นอกจากนั้น งานวิจัยยังพบว่าในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิต จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 52,000 คน หรือชั่วโมงละ 6 คน และผู้ที่ติดบุหรี่ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เริ่มสูลและติดบุหรี่ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยรุ่น ในช่วงอายุ 11-18 ปี โดยยังสูบต่อเนื่องไปจนอยู่ในวัยเยาวชนในช่วง 19-25 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น ในช่วงอายุ 25-35 ปี (กลุ่มพัฒนาภาคีเครือข่ายและการสื่อสารสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค 2551) เทศบาลตำบลกลางใหญ่ ได้เห็นถึงความสำคัญและปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการศึกษาดูงานเพื่อจัดการความรู้เกี่ยวกับการลด ละ เลิกบุหรี่ ขึ้น เพื่อให้ทีมหมอครอบครัว ร่วมกับผู้นำหมู่บ้าน กรรมการกองทุนฯ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ของตำบลกลางใหญ่ และมีประสบการณ์ด้านการทำงานเกี่ยวกับการลด ละ เลิกบุหรี่จากหน่วยงานภายนอก ซึ่งจะทำให้มีทัศนคติและมุมมองที่กว่างไกล สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนตำบลกลางใหญ่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ศึกษาแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการลด ละ เลิกบุหรี่่ และ สามารถนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตำบลกลางใหญ่ 2 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงานเกี่ยวกับการลด ละ เลิกบุหรี่ ของหน่วยงานอื่น 3 สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานเกี่ยวกับการลดละลิกบุหรี่ 4 กระตุ้นในประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ให้หันมาตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์เพื่อการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ 5 จัดตั้งชมรม "คนรักสุขภาพ ต่อต้านการสูบหรี่ "

1 กลุ่มวัยทำงาน 2 กลุ่มผู้สูงอายุ 3 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 4 กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 5 กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 6 กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน 7 กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง

1.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายคนทำงานเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(คน)

20.00
3 เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ

อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำเพิ่มขึ้นเป็น(ร้อยละ)

20.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น(ร้าน)

3.00
5 เพื่อเพิ่มกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนกิจกรรมและนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนกิจกรรม/นวัฒกรรม)

1.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ

จำนวนมาตรการของชุมชนที่ประกาศใช้เพื่อการจัดการควบคุมยาสูบ เพิ่มขึ้นเป็น(จำนวนมาตรการ)

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 68,900.00 1 68,900.00
26 - 28 ก.พ. 61 โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 0 68,900.00 -
26 ก.พ. 61 โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานเพื่อจัดการความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่ ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 0 0.00 68,900.00

1ประชุมผู้นำหมู่บ้าน กรรมการกองทุน ฯลฯ ทีมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ รวมกับทีมหมอครอบครัวตำบลกลางใหญ่ เพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนตำบลกลางใหญ่ 2 เพื่อนำเสนอโครงการที่ได้จากการประชุมกับคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกลางใหญ่ เพื่อของบสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม 3 ทัศนะศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเทพพัฒนา อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อนำแนวคิดและวิธีการดำเนินงาน ลด ละ เลิกบุหรี มาปรับใช้ในพื้นที่ตำบลกลางใหญ่ 4 แลกเปลี่ยนทรรศนะความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงาน ลด ละ เลิกบุหรี 5 ประสานงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ 6 นำประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้มาประชุมทีมดำเนินงานแล้วนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนตำบลกลางใหญ่มากที่สุด 7 สรุปและประเมินผลตามกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ศึกษาดูงานได้เรียนรู้แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการลด ละ เลิกบุหรี่ 2 ผู้ศึกษาดูงานได้แลกเปลี่ยนทรรศนะ ความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานเกี่ยวกับการลด ละ เลิกบุรี่ ของหน่วยงานที่ไปศึกษาดูงาน เพื่อเกิดทักษะในการนำมาพัฒนาในพื้นที่ของตนเอง 3 เกิดความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของตำบลกลางใหญ่ ในการดำเนินงานลด ละ เลิกบุหรี่ 4 ประชาชนในตำบลกลางใหญ่ หันมาสนใจการรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่มากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมต่างๆในชุมชน เช่น งานบุญ งานบวช งานสงกรานต์ เป็นต้น 5 เกิดชมรม " คนรักสุขภาพต่อต้านการสูบบุหรี่" ขึ้นในตำบลกลางใหญ่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2561 07:53 น.