กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมด้วยช่วยกันป้องภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกพยอม
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผอ.ณัชาชาบุญสิริธนา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงใจอ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.886,100.442place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกมานานกว่า 50 ปี ปัจจุบันโรค ไข้เลือดออก มีการระบาดกระจายไปทั่วประเทศ ทุกจังหวัด และอําเภอ การกระจายของโรคมีการ เปลี่ยนแปลงตามพื้นที่อยู่ตลอดเวลา ปัจจัยที่มีความสําคัญต่อการแพร่กระจายของโรคมีความซับซ้อนและ แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และยังมีส่วนทําให้รูปแบบการเกิดโรคมีความผันแปรไปในแต่ละปี ดังนั้นแนวคิด ด้านการรายงานสถานการณ์โรค จึงเปลี่ยนไปสู่การสร้างสรรค์ความคิด โดยการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการ “ป้องกัน” และ “เตือนภัย” ในเหตุการณ์ต่างๆ มากขึ้น นําไปสู่ การทํานาย (Forecast) หรือพยากรณ์ (Prediction) เพื่อคาดการณ์สถานการณ์โรคล่วงหน้า รวมทั้งการ ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Assessment รายพื้นที่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ฝ่ายบริหาร สามารถตัดสินใจในการกําหนดนโยบาย แผนงานและกลยุทธ์ในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต่อไป การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2559 ใช้วิธีการทางสถิติแบบอนุกรมเวลา (Time series analysis) แบบ Simple Seasonal โดยใช้ข้อมูลจํานวนผู้ป่วยย้อนหลังอย่างน้อย 10 ปี (ปีพ.ศ. 2549-2558) ซึ่ง ผลการวิเคราะห์คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ. 2559 ประมาณ 160,000 – 170,000 ราย ทั้งนี้เมื่อ เทียบกับสถานการณ์ในช่วงปัจจุบันของ ปีพ.ศ. 2558 (สัปดาห์ที่ 49 ณ วันที่ 15 ธ.ค. 2558) พบว่า ยังมีการ แพร่กระจายโรคสูงกว่าปกติซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าโรคไข้เลือดออกจะระบาดต่อเนื่องไปจนถึงปี 2559 สอดคล้องกับ การวิเคราะห์และการพยากรณ์และคาดว่าจะมีจํานวนผู้ป่วยเสียชีวิตในปี 2559 ประมาณ 160 ราย หรืออัตราป่วย ตายไม่เกินร้อยละ 0.11 สําหรับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอ โดยใช้แนวคิดด้านการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดยทําการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพื้นที่ (Geo-statistical Analysis) แบบ Inverse Distance Weighting; IDW และใช้ GIS Software เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระดับอําเภอ จากปัจจัยพื้นที่ ที่มีจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกหนาแน่นซ้ําซาก และแนวโน้มความรุนแรงของการระบาดต่อเนื่องในปีถัดไป ผลการวิเคราะห์คาดว่ามีจํานวนพื้นที่เสี่ยงระดับอําเภอทั้งสิ้น จํานวน 228 อําเภอ ใน 70 จังหวัด จากผลการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกและการประเมินพื้นที่เสี่ยง ที่คาดว่าจะเกิดการระบาด ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2559 ดังกล่าว กรมควบคุมโรคจึงต้องมีการกําหนดแผนงาน มาตรการ และการใช้ ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันเวลา โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงต้องเน้นมาตรการการป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะช่วงเวลาสําคัญที่ควร ดําเนินการคือช่วงเดือน มกราคม – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่โอกาสการแพร่โรคเกิดน้อยที่สุด ทั้งนี้องค์ประกอบ สําคัญของการดําเนินการคือความร่วมมือจากประชาชน ชุมชน อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ส่วนการควบคุมโรค มีความจําเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้าน อุปกรณ์เครื่องมือ สารเคมีและทีมสอบสวนควบคุมโรค (SRRT) ให้มีความเพียงพอและมีประสิทธิภาพที่สามารถควบคุมโรคได้ อย่างทันเวลาในพื้นที่เสี่ยงและ/หรือพื้นที่เกิดโรค เพื่อควบคุมการระบาดไม่ให้เกิดการแพร่กระจายในวงกว้าง(ข้อมูลจากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2559สํานักโรคติดต่อนําโดยแมลง สํานักระบาดวิทยา) สถานการณ์โรคไข้เลือดออก สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในอำเภอคลองหอยโข่งณ 27 สิงหาคม 2559 - ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 76 ราย - อัตราป่วย 302.28 ต่อประชากรแสนคน - ไม่มีผู้เสียชีวิต จังหวัดสงขลาอยู่ในล าดับที่ 5 ของประเทศ เสียชีวิตแล้ว 4 ราย ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนบ้านโคกพยอมได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว โรงเรียนโคกพยอมจึงได้จัดทำโครงการร่วมด้วยช่วยกันป้องภัยไข้เลือดออกขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงความร้ายแรงของไข้เลือกออกและได้มีความรู้ในการป้องกันอันจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติจากโรงเรียนสู่ชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้กับนักเรียนและคนในชุมชน ข้อที่ 2 เพื่อป้องกันและเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 3 เพื่อให้องค์กรณ์ที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และสถานศึกษาเกิดการร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ข้อที่ 4เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือกออกใน หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งลานอ.คลองหอยโข่งจ.สงขลามีปริมาณลดลง 1.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือกออกใน หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งลานอ.คลองหอยโข่งจ.สงขลามีปริมาณลดลง 1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือกออกใน หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งลานอ.คลองหอยโข่งจ.สงขลามีปริมาณลดลง 2. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ100 1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือกออกใน หมู่ที่ 5 ต.ทุ่งลานอ.คลองหอยโข่งจ.สงขลามีปริมาณลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) กิจกรรมที่1 กิจกรรมป้องกันยุงลายและไข้เลือดออก 1.1 กิจกรรมให้ความรู้ 1.1.1จัดทำสารสนเทศให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียนเพื่อเป็นเตือนให้เฝ้าระวังและแจกประชาสัมพันธ์แก่ชุมชน 1.1.2จัดกิจกรรมเสียงตามสายประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยุงลายและไข้เลือดออกภายในโรงเรียน 1.1.3เชิญวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง 1.1.4จัดป้ายนิเทศให้ความรู้ภายในโรงเรียน 1.2 กิจกรรมเดินรณรงค์ 1.2.1จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ยุงลายและไข้เลือดออก 1.2.2จัดขบวนเดินรณรงค์ภายในชุมชนให้ตระหนักถึงภัยของยุงลาย 1.2.3 นักเรียนและชุมชนร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยการเก็บขยะ คว่ำภาชนะที่น้ำขังภายในหมู่บ้านเพื่อเป็นแนวทางและเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติ 1.3ประเมินกิจกรรมโดยใช้แบบสอบถาม

กิจกรรมที่ 2 จัดทำโครงงานป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
2.1สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 2.2คิดค้นวิธีการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยใช้โครงงานทดลองภายในโรงเรียน 2.3 นำผลการทดลองจากโครงงานกำจัดลูกน้ำยุงลายภายในโรงเรียนปฏิบัติลงสู่ครัวเรือนและชุมชน
2.4เยี่ยมบ้านนักเรียน 2.5ประเมินกิจกรรมโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมทุกคนและคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 2. นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมทุกคนและคนในชุมชนสามารถป้องกันและนำวิธีการจากการอบรมไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ 3.นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมและคนในชุมชน ร้อยละ๙๕ ให้ความร่วมมือกันทั้งองกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และสถานศึกษา 4. นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมทุกคนและคนในชุมชนเห็นความสำคัญของความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2560 09:04 น.