กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมแกนนำหมู่บ้านและแกนนำหญิงวัยรุ่น (15 - 19 ปี)ในด้านการวางแผนคุมกำเนิด ปี 2561
รหัสโครงการ 2561 - L3306 - 2 - 08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.รพ.สต.บ้านพูด
วันที่อนุมัติ 7 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2561 - 19 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิวัฒน์ เสนาทิพย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพของวัยรุ่นทวีความรุนแรงมากขึ้น เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่กระทบต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเกี่ยวกับเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ เห็นได้จากผลการศึกษาวิจัย ที่พบว่าวัยรุ่นส่วนมากมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร อายุน้อยลงเรื่อย ๆ มีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนหรือแฟนมากกว่าหญิงอาชีพพิเศษ มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกส่วนมากไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดและวัยรุ่นมีการใช้วิธีการคุมกำเนิดกับหญิงอาชีพพิเศษมากกว่าใช้กับเพื่อนหรือคู่รัก นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นอายุต่ำกว่า25ปี มีการทำแท้งประมาณร้อยละ 46 ของผู้ทำแท้งทั้งหมดและจากผลการสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับทัศนคติการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิดในวัยรุ่นหญิงและชายใน ๑๕ ประเทศทั่วโลก พบว่า กลุ่มตัวอย่างเฉลี่ยร้อยละ 31 ไม่มีการปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอัตราสูงถึงร้อยละ 41 และร้อยละ 24 มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนโดยไม่ป้องกันและคุมกำเนิด สำหรับประเด็นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิด พบว่ากลุ่มตัวอย่างยังมีความเข้าใจเรื่องการป้องกันและการคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง โดยพบว่าร้อยละ 36ใช้วิธีหลั่งข้างนอก (กองวางแผนครอบครัวและประชากร กรมอนามัย ) ในประเทศไทยได้มีการสำรวจพบว่า อายุการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ มารดาวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี มีร้อยละ 19.2 ของการคลอดทั้งหมด หรือประมาณ 150,000 คนต่อปี  นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่เข้ารับการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีถึงร้อยละ 30 สถิติดังกล่าวนับเป็นปัญหาที่สำคัญและยังคงต้องเร่งแก้ไข โดยอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันครอบครัว โดยเฉพาะเพื่อนซึ่งเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและการตัดสินใจของวัยรุ่นเป็นอย่างมาก จากสถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สภาวิชาการคุมกำเนิดแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกร่วมกับกรมอนามัย สถาบันอุดมศึกษาและภาคเอกชน จึงจัดงานวันคุมกำเนิดโลก ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖กันยายนของทุกปี เพื่อรณรงค์ให้วัยรุ่นตระหนักถึงปัญหาตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และลดการทำแท้งในวัยรุ่นซึ่งอาจสรุปสาเหตุที่ปัญหาท้องไม่พร้อมและการทำแท้งในวัยเรียนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในตนเอง ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพูด จากผลการสำรวจในปี 2558  หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 85 ราย พบตั้งครรภ์วัยรุ่น 12 รายคิดเป็น 14.11 % ,ปีงบ 2554 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 42 ราย พบตั้งครรภ์วัยรุ่น๖ รายคิดเป็น 1428 % และปี 2559 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 38 ราย พบตั้งครรภ์วัยรุ่น 4 ราย คิดเป็น 24.28 % จะเห็นได้ว่าอัตราการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินคัดกรองและให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน

ร้อยละ 60 ของวัยรุ่นและเยาวชน หญิงอายุ 15-19ปี ได้รับการประเมินคัดกรองและให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตร

0.00
2 เพื่อให้วัยรุ่นและเยาวชน หญิงอายุ 15-19 ปีมีความรู้ความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้
  • ร้อยละ 60 ของวัยรุ่นและเยาวชน หญิงอายุ 15-19 ปี ได้รับความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษา
0.00
3 เพื่อให้วัยรุ่นและเยาวชน หญิงอายุ 15-19 ปี เข้าถึงและใช้บริการสุขภาพตามเหมาะสม

ร้อยละ 48 ของวัยรุ่นและเยาวชน หญิงอายุ15-19  ปีที่ตั้งครรภ์ และเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำได้รับการเยี่ยมบ้านเชิงรุก  วัยรุ่น  วัยใส  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการตั้งครรภ์ซ้ำ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,500.00 1 11,500.00
26 ก.ย. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 11,500.00 11,500.00
  1. สำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มหญิงวัยรุ่นทั้งกลุ่มสมรสและโสด
  2. นำผลสรุป มาจัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
  3. จัดทำแผนปฏิบัติงานตามโครงการ
  4. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ในด้านการวางแผนคุมกำเนิด ทักษะในการสื่อความรู้ต่อกลุ่มเสี่ยงตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
  5. ประเมินคัดกรองและให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนตามแบบฟอร์ม
  6. บริการเยี่ยมบ้านวัยรุ่น เชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง
  7. จัดรณรงค์ การวางแผนคุมกำเนิดที่หอประชุมของหมู่บ้าน เสียงตามสายโดยผู้นำหมู่บ้าน
  8. ติดตามผลและประเมินผลโครงการ
  9. สรุป / รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำหมู่บ้านและแกนนำหญิงวัยรุ่น มีศักยภาพในการให้ความรู้ในการคุมกำเนิด ให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่เพื่อนได้ 2.วัยรุ่นและเยาวชนหญิงอายุ 15-19 ปีมีความเข้าใจเรื่องเพศวิถีศึกษา และไม่ท้องก่อนวัยอันควร อีกทั้งมีการติดตามเยี่ยมบ้านเชิงรุกทุกรายจำนวนการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นและเยาวชนหญิงอายุ 15-19 ปี ลดลง 3.อัตรามารดามีบุตรอายุน้อยกว่า 20 ปี น้อยกว่า ร้อยละ 10 ( ตามตัวชี้วัดอนามัยแม่และเด็ก )
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2561 09:25 น.