กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน
รหัสโครงการ 60-L8300-3-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนผู้สูงอายุตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 1 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์กองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันผู้สูงอายุอยู่คนเดียวไม่มีกิจกรรมทำทำให้เหงา เนื่องจากบุตรหลานต้องทำงาน และผู้สูงอายุ ไม่มีแรงในการทำงานแต่มีความจำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้นเพราะต้องมีค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากร่างกาย เริ่มเสื่อมถอยตามกาลเวลา ดังนั้นเรื่องความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ มีความสำคัญ ควบคู่กับเรื่องสุขภาพ และอีกประการ คือเรื่องสังคม ถ้ามีกิจกรรมที่สามารถตอบโจทย์ ๓ ประเด็นนี้ได้ก็จำให้กิจกรรมเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์ ดังนั้นกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุตำบลแว้งเห็นความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุที่ติดสังคมมีกิจกรรมต่อเนื่อง โดยยึดหลักความชอบของผู้สูงอายุ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนจึงจัดทำ โครงการสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ขึ้นมาเพื่อตอบสนองตอบนโยบายภาครัฐที่เน้นหนักและให้ความสำคัญเรื่องผู้สูงอายุ และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มอายุต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อสร้างระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ครบวงจร คือ สุขภาพ จิตใจ คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจ

1.ผู้สูงอายุมีที่ปรึกษาปัญหาสุขภาพเนื่องจากมารับบริการบ่อย 2.เข้าถึงการบริการสาธารณสุขเนื่องจากมีโอกาสมาบ่อย 3.One Stop Service มาเรื่องเดียวได้หลายเรื่อง

2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสถานที่เพื่อทำกิจกรรม ตรวจสุขภาพ นันทนาการ ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์

1.เป็นกิจกรรมที่สนุกได้ความรู้โดยมีความเพลิดเพลินด้วย 2.ได้พบปะเพื่อนและเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่นๆ 3.เปิดเวทีสร้างสรรค์ให้ผู้สูงอายุได้แสดงคิดเห็นและแสดงศักยภาพ

3 ข้อที่ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุให้เข้มแข็งโดยชุมชนมีส่วนร่วม

1.ผู้สูงอายุได้เครือข่ายโดยไม่รู้ตัว 2.ชุมชนต้องอาศัยผู้สูงอายุคอยชี้แจงในเรื่องต่างๆ 3.มีการเยี่ยมเยียนบ้านผู้ป่วยติดเตียงจากการสร้างเครือข่าย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมปรึกษาหารือร่วมกับผู้นำชุมชนในการดำเนินกิจกรรมกำหนด ทุกวันพุธช่วงบ่ายสำหรับผู้สูงอายุ ที่นัดหมายมาทำกิจกรรมต่างๆ เช่นตรวจสุขภาพ รับทำบัตรพิการ ให้คำปรึกษาเรื่องเงินกู้ 2.ประชาคมผู้สูงอายุให้ตัวตัวสูงอายุร่วมกันกำหนดกิจกรรมที่ผู้สูงอายุอยากจัด 3. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เดือนละ 2 ครั้ง เวลา 13.00 น. – 16.00 น. 4. กลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงอายุ 200 คน บุคคลทั่วไป 100 คน 5.กิจกรรมการตรวจสุขภาพมีพยาบาลประจำ 1 คน และ อสม.อย่างน้อย 1 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพทั้งด้านร่างกาย,จิตใจสังคมได้รับการช่วยเหลือตามสภาพปัญหา
  2. สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้สูงอายุในการดำรงชีวิตและช่วยเหลือด้านการดูแลสุขภาพจิตและกาย
  3. ผู้สูงอายุมีเครือข่ายร่วมกันดูแลสุขภาพของเพื่อนผู้สูงอายุกันเองเบื้องต้นผ่านการให้คำแนะนำด้านสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2560 10:12 น.