โครงการสุขภาพจิตกับสิทธิแห่งความเท่าเทียมในครอบครัว
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพจิตกับสิทธิแห่งความเท่าเทียมในครอบครัว |
รหัสโครงการ | 2561 - L3306 - 2 - 11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลคลองเฉลิม |
วันที่อนุมัติ | 7 กันยายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 กันยายน 2561 - 26 ธันวาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายฤทธิชัย พลนุ้ย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.349,99.958place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 115 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
คนในสังคมทั่วไปยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่ว่าการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ควรกระทำเฉพาะในงานสวัสดิการทางสังคมเท่านั้น และบางครั้งก็เข้าใจกันผิดๆ ว่า การจัดหาทรัพยากรและสิทธิพิเศษต่างๆ ให้กับผู้หญิงจะนำมาซึ่งความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ในทางปฏิบัติแล้ว ความเข้าใจเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้ เพราะความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงและชายนั้น ฝังรากลึกอยู่ในทุกมิติของความสัมพันธ์ในสังคมทุกสังคม โดยเฉพาะในครอบครัว
ถ้าจะกล่าวถึงคาว่า “ครอบครัว” คงหลีกหนีไม่พ้นที่จะกล่าวถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว” ไปพร้อมๆ กัน ครอบครัวจึงอาจมีทั้งสุขและทุกข์ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่มีความสมดุลหรือไม่สมดุล รวมทั้งปัจจัยภายนอก เช่น สภาพทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ฯลฯ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบทบาทและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่ไม่สมดุล มักเกิดจากการใช้อำนาจ การเอารัดเอาเปรียบ การ ข่มเหงรังแกระหว่างคนในครอบครัว ทั้งหญิงกับชาย และเด็กกับผู้ใหญ่ จนเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ปัญหาในเรื่องความเครียด สุขภาพจิตที่หวั่นวิตกอยู่ตลอดเวลาจนทำให้ถึงขั้นเข้าสู่การรักษาภาวะโรคจิตซึ่งปรากฎการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในครอบครัว เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะทาให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักว่าสังคมไทยนั้นมีแบบแผนการเลี้ยงดู หล่อหลอม กล่อมเกลา หรือความคาดหวังที่กำหนดไว้ต่อหญิงและชายแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างนั้นเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทาให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวเกิดความสมดุลหรือความไม่สมดุล อันก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภาพกว้างตามมา เช่น ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โรคจิตเสื่อมโรคเครียด วิตก ปัญหาการเลือกปฏิบัติและความไม่เสมอภาคทางสังคม ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่จุดเริ่มต้น จึงควรมีการเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับถึงต้นตอที่แท้จริงของปัญหา เพื่อนาไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายในครอบครัว โดยหล่อหลอมการเรียนรู้และความเข้าใจของสมาชิกในครอบครัวให้ช่วยกันขจัดบทบาทและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของทั้งหญิงและชาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่งเสริมความเข้าใจว่าความเสมอภาคระหว่างหญิงชายเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม ซึ่งเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว ชุมชน และสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ให้เกียรติ เกื้อกูล ส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบและทำร้ายกัน เพื่อประโยชน์สุขของทุกคนในสังคมนั่นเอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราความรุนแรงและผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมรายใหม่
|
0.00 | |
2 | เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงการใช้อำนาจที่เหนือกว่าของคนในครอบครัว
|
0.00 | |
3 | เพื่อเข้าถึงระบบการรักษาที่ถูกต้อง
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 40,000.00 | 1 | 40,000.00 | 0.00 | |
10 ต.ค. 61 | กิจกรรมละลายพฤติกรรม สร้างความคุ้ยเคย/ให้ความรู้ เสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว | 0 | 40,000.00 | ✔ | 40,000.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 40,000.00 | 1 | 40,000.00 | 0.00 |
๔.๑ ผู้นำสันทนาการ เป็นผู้นำทำกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรู้จักมากยิ่งขึ้น กิจกรรมละลายพฤติกรรมอาจเป็นกิจกกรมง่ายๆและสร้างความสนุกสนาน เช่น ให้ผู้เข้ากิจกรรมแนะนำตัวสั้นๆ การปรบมือสร้างความพร้อมในการเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในแต่ละส่วน สลับกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ๔.๒ ผู้นำกระบวนการเวทีครอบครัว โดยดำเนินกิจกรรมด้านครอบครัว ดังนี้ ๑ โดยวิทยากรให้ความรู้ด้านบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว การสื่อสารที่ดีและวิธีแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งของครอบครัว และมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ครอบครัวในชุมชนเป็นอย่างไร โดยให้บอกในด้านที่ดี และด้านที่ไม่ดีพร้อมยกตัวอย่าง และที่กำลังเป็นปัญหา พร้อมหาแนวทางแก้ไข ๒. กิจกรรมการเสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว โดยกิจกรรมที่เปิดโอการให้คนในครอบครัว พ่อแม่ลุกหรือผู้ปกครองได้พูดคุยกันถึงการกระทำที่ดี /ไม่ดีที่เกิดที่เกิดในครอบครัว และให้ช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ๓. กิจกรรมให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการหยุดใช้การหยุดความรุนแรงต่อลูก ส่งเสริมวิธีการและเทคนิคในการควบคุมอารมณ์ของพ่อแม่ เพื่อช่วยลดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ๔. กิจกรรมบนเวทีสร้างความรักสามัคคีในครอบครัวและกิจกรรมฐานเพื่อสร้างพัฒนาการและความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว
๑. สมาชิกในครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิบทบาทและหน้าที่ขอตนเองต่อคนในครอบครัวมากขึ้น ๒. สมาชิกในครอบครัวมีภูมิคุมกันต่อความกดดันและอารมณ์ต่อคนในครอบครัวมากขึ้น ๓. สมาชิกในครอบครัวมีความผูกพันธ์และเข้าใจลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคจิตเสื่อม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2561 14:19 น.