กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหานักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำและสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
รหัสโครงการ 60-L3339-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 236 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนาในปี ๒๐๐๐ องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าทั่วโลกมีประชากรอย่างน้อย ๓๐๐ ล้านคนที่กำลังเผชิญปัญหาโรคอ้วนทั้งนี้เนื่องจากแนวโน้มของการบริโภคอาหารได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณาต่างๆและร้านอาหารต่างๆการขาดวินัยในการรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่รู้จักเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ขาดวินัยในการใช้เวลาไม่รู้คุณค่าของเงินและขาดการออกกำลังกาย เด็กเหล่านี้รวมทั้งผู้ใหญ่ในครอบครัวจึงมีปัญหาโรคอ้วนเพิ่มขึ้น ตามลำดับ ภาวะเสี่ยงด้านสุขภาพในเด็กอ้วนเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน หอบ และความดันโลหิตสูง ทั้งที่ควรจะเป็นโรคในวัยผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันปัญหาทุพโภชนาการที่เกิดจาการขาดสารอาหาร การรับประทานไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้เด็กมีน้ำหนักต่ำเกณฑ์จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กไม่ได้เต็มศักยภาพ แนวทางการแก้ไขปัญหาโภชนาการทั่งที่ขาดและเกินเพื่อทำให้เด็กทุกคนดูดี มีพลานามัย จึงต้องบูรณาการทั้งที่ตัวเด็ก ครอบครัว โรงเรียนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันอาศัยหลักชุมชนมีส่วนร่วมการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จึงจะทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหา โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้นักเรียนโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ทุกคนดูดี มีพลานามัยแข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อแก้ไขปัณหานักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าและสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

 

2 ๒.เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์

 

3 ๓.เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีวินัย มีการเรียนรู้ด้านอาหารและโภชนาการ รู้จักกิน ฉลาดซื้อ รู้คุณค่าของเงิน และรักการออกกำลังกาย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ขั้นเตรียม ๑.๑จัดประชุม/วางแผนแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กำหนดจัดโครงการ กำหนดผู้รับผิดชอบ ๑.๒ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมสุขภาพ ๑.๓จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ในการจัดทำกิจกรรม ๒.ขั้นดำเนินการ ๒.๑ให้ครูที่ปรึกษาทุกระดับชั้นดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนและบันทึกในแบบฟอร์มที่กำหนดให้และคัดแยกนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินและต่ำกว่ามาตรฐาน ๒.๓จัดอบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบของการมีน้ำหนักเกินและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานพร้อมทั้งแจกสมุดบันทึกประจำตัวให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ๒.๔นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ทำกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของตนเอง -รับประทานอาหารถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการ -ออกกำลังกายช่วงเวลาว่างหรือหลังเลิกเรียน -นักเรียนทุกคนบันทึกการทำกิจกรรมลงในสมุดบันทึก ๓.ขั้นประเมินผล สรุปผลและรายงานผล ๓.๑ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการ ๓.๒เปรียบเทียบ ๒ เดือน/ครั้ง โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนในโครงการและบันทึกผล ๓.๓มอบรางวัลครั้งที่ ๑ สำหรับนักเรียน ๒๕ คนแรกที่มีน้ำหนักลดลงและเพิ่มขึ้นมากที่สุด เรียงตามลำดับ ๓.๔มอบรางวัลครั้งที่ ๒ สำหรับนักเรียน ๒๕ คนที่น้ำหนักลดลงและเพิ่มขึ้นเรียงตามลำดับ ๓.๕ทำการประเมินโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังทำกิจกรรม ๓.๖นำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนมาวิเคราะห์หาค่าความพึงพอใจ ๓.๗นำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ไปสรุปผลและรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.นักเรียนที่มีน้ำหนักสูงและต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีจำนวนลดลง ๒.นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยส่งผลให้ร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ ๓.นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมด้านการบริโภคที่ถูกต้องและรักการออกกำลังกาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2560 11:00 น.