โครงการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคที่เกิดจากยุงลาย ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคที่เกิดจากยุงลาย ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2560 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.สว.นอกรพ.สต.บ้านน้ำตก รพ.สต.จุฬาภรณ์พัฒนา 12 รพ.สุคิริน |
วันที่อนุมัติ | 19 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 47,205.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอภิรดีนามสกุล ศรีสุวรรณ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายดานิช ติงปาเนาะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 5.951,101.697place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะเป็นฤดูที่มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายสูงสุด เนื่องจากฝนที่ตกมาจะทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทำให้จำนวนยุงลายเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอื่นๆของปี ดังนั้นโรคที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงนี้คือโรคที่มียุงลายเป็นพาหะเช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่แม้ว่าปัจจุบันในพื้นที่ตำบลสุคิริน จะมีแนวโน้มผู้ป่วยลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ปี2557 จำนวน6 ราย ปี2558 จำนวน 11รายปี 2559 จำนวน 7 ราย) แต่ยังคงวางใจไม่ได้ต้องดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมโรคอย่างเข้มข้นต่อไป ทั้งนี้ โรคที่มียุงลายเป็นพาหะสามารถป้องกันได้โดยทุกภาคส่วนต้องร่วมมือรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะมาตรการ ”พิชิตลูกน้ำยุงลาย 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” ได้แก่ 1. เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 3.เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย รวมทั้งการกำจัดและควบคุมยุงตัวแก่ เช่นการพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย และการป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดเช่น ทายากันยุง กำจัดยุงโดยใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า จุดสมุนไพรหรือยาจุดไล่ยุง หรือใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคคือ การป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการมุ่งเน้นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ต้องดำเนินการก่อนโรคเกิด หากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมจะทำได้ลำบาก และสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคเกิดขึ้นในพื้นที่และให้มีการ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการแก้ไขปัญหาโรคที่เกิดจากยุงลายร่วมกันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก จึงได้จัดทำโครงการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรคที่เกิดจากยุงลาย ตำบลสุคิรินขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อกระตุ้นและสร้างความร่วมมือให้ประชาชน และหมู่บ้านมีการกำจัดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการใช้มาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ
ที่ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 1.ผลการสำรวจความชุกของลูกน้ำยุงลาย ค่า CIHI |
||
2 | 2. เพื่อลดอัตราป่วย ตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชน 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก |
||
3 | 3. เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านมีการจัดการ ตามมาตรการระบบการควบคุมป้องกันโรคโดยชุมชนเองได้ 3.หมู่บ้าน ชุมชน มีศักยภาพสามารถจัดการ ตามมาตรการระบบการควบคุมป้องกันโรคโดยชุมชนเองได้ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 59 - 30 ก.ย. 60 | กิจกรรมก่อนระบาด มีการจัดเก็บกวาดบ้าน อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย รณรงค์ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค กิจกรรมขณะการระบาด มีการควบคุมการระบาด ทำลายตัวอ่อน แจกสเปรย์ป้องกันยุง รายงานสำรวจ ติดตาม | 0 | 47,205.00 | - | ||
รวม | 0 | 47,205.00 | 0 | 0.00 |
การเตรียมการ
1.สำรวจและคืนข้อมูลการเกิดโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ
-ในเวทีประชุมประจำเดือนอสม.
-ในเวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน
-ในเวทีการจัดทำแผนสุขภาพตำบล
2.จัดตั้งทีมงานการควบคุมป้องกันโรคระดับหมู่บ้าน โดยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
และมีการจัดแบ่งบทบาทหน้าที่ ตามความเหมาะสม
3.จัดทำช่องทางการสื่อสารระหว่างหมู่บ้าน ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.จัดทำแผนการดำเนิน/โครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
การดำเนินกิจกรรม เฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคก่อนการระบาด
1.ประชาชนมีการจัดเก็บกวาดบ้านเรือนเก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ เก็บขยะ คัดแยกขยะในครัวเรือนสัปดาห์ละ 1ครั้ง เพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลาย
2.อสม.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมรายงานผลค่า CI , HI
3.จัดกิจกรรมรณรงค์ ” 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”การทำความสะอาดหมู่บ้าน เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ การเก็บขยะครั้งใหญ่ในชุมชนจำนวน2ครั้ง(เดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายน2560
4.พ่นหมอกควันก่อนการระบาด ในโรงเรียน วัด มัสยิด ปีละ 2 ครั้ง เพื่อทำลายตัวแก่ของยุง
การดำเนินกิจกรรม เฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคขณะมีการระบาด
1.การควบคุมการระบาดให้เกิดน้อยที่สุด
- การกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วย และบริเวณรอบบ้านผู้ป่วยในรัศมีอย่างน้อย100 เมตร
และประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ที่เกิดโรคหลังการควบคุม ควรมีค่า HI ≤ 10
-ใช้ยาป้องกันยุงชนิดสเปรย์ เพื่อทำลายตัวแก่ภายในบริเวณบ้านเรือนเป็นการควบคุมการระบาด
ไม่ให้มีการเกิดโรคในวงที่กว้างขึ้น
-พ่นหมอกควันคลุมทุกพื้นในหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรค ในกรณีมีผู้ป่วย ตั้งแต่ 2CASE ขึ้นไป
2.ระบบรายงานที่รวดเร็ว
-ให้อสม.ผู้นำชุมชน สมาชิกอบต.และเครือข่ายสุขภาพอื่นๆแจ้งข่าว รายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการ
รักษาที่โรงพยาบาลและมีอาการสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกหรือโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ให้รีบดำเนินกิจกรรมตามมาตรการควบควบคุมป้องกันโรคทันที
3.การสอบสวนโรคเพื่อหาแหล่งโรค
4.จัดทำรายงานการสำรวจติดตาม สรุปประเมินผล
- หน่วยงาน หมู่บ้าน ประชาชนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สามารถลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะได้
- เกิดความรักความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน ในการจัดทำกิจกรรมร่วมกัน สามารถบริหาร จัดการร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพอื่นๆร่วมกันต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2560 11:09 น.