กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ การเฝ้าระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสว.นอก
วันที่อนุมัติ 19 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอภิรดี ศรีสุวรรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายดานิช ติงปาเนาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.951,101.697place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตรายในบ้านเรือนและวัตถุเสพติด เป็นสิ่งที่ประชาชนบริโภคตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพหรือบริโภคไม่ถูกต้องเหมาะสม ล้วนนำมาซึ่งความเจ็บป่วยและที่ร้ายแรงอาจนำมาถึงขั้นเสียชีวิตเช่นอาหารปนเปื้อนสารห้ามใช้หรือมีจุลินทรีที่ทำให้เกิดโรค เครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ การใช้ยาผิดหรือใช้ยาที่ไม่มีคุณภาพ มาตรฐาน ยาปลอม การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดโรคตั้งแต่ระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆอีกมากมาย ขณะเดียวกันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทางอินเตอร์เน็ต การโฆษณาทางสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงจากการบริโภคยาที่ไม่มีทะเบียน ยาปลอม รวมถึงการบริโภคยาโดยไม่อยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร นอกจากนี้ยังพบว่าร้านชำในชุมชนมีการจำหน่ายยาชุดยาอันตรายและยาลูกกลอนที่มีการนำสเตียรอยด์มาผสม เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นยาที่ดี รักษาโรคได้หายทันใจ ทำให้ประชาชนได้รับพิษจากเสตียรอยด์รวมถึงปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงในทางการค้าทำให้มีการโฆษณาในลักษณะที่โอ้อวดเกินความจริงหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ ผลที่ตามมาคือเกิดการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ไม่จำเป็นและบางครั้งเกิดอันตรายจากการบริโภค เช่นคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาดูแลต่อเนื่อง เมื่อหลงเชื่อโฆษณาหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาแล้วละเลยวิธีการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้โรคมีความรุนแรงขึ้นจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้นส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากการบริโภคทั้งสิ้น หากผู้บริโภคขาดความรู้เกี่ยวกับการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม ปลอดภัยหรือขาดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค
ดังนั้น รพ.สต.สว.นอกร่วมกับรพ.สต.ในเขตรับผิดชอบในพื้นที่ตำบลสุคิรินจึงได้จัดทำโครงการ การเฝ้าระวังป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชนได้มีความรู้ และมีส่วนร่วมในการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ประชาชนต้องบริโภคและใช้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค ตลอดจนสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ผู้บริโภคมีความปลอดภัยไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุจากการบริโภค อันจะส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชนได้มีความรู้ในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑.ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชนมีความรู้และสามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

2 ๒.เพื่อเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีข้อความลักษณะโอ้อวดเกินจริง

๒.ประชาชนมีความรู้และมีความเข้าใจในคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง ไม่หลงเชื่อการ โฆษณาที่มีลักษณะโอ้อวดเกินจริง

3 ๓.เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

๓.ร้านชำในชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพและนำสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน มาจำหน่าย
๔.ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ออกตรวจร้านชำ สรุปผลการตรวจร้าน ประเมินผลการทดสอบความรู้กลุ่มเป้าหมาย 0 9,600.00 9,600.00
รวม 0 9,600.00 1 9,600.00

ขั้นเตรียมการ ๑.จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการ ๒.เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ ๓.ประสานงาน ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม.เพื่อชี้แจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์โครงการ
๔.จัดเตรียมอุปกรณ์ในการอบรมให้ความรู้และการออกตรวจร้านค้า ร้านชำ เพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ -จัดทำป้ายไวนิลโครงการ -แบบสอบถามความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข) -แบบฟอร์มการสำรวจ ตรวจร้านชำเพื่อทำการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ขั้นดำเนินการ ๑.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน1วัน
๒.ออกตรวจร้านชำ เพื่อสาธิตเป็นตัวอย่าง จำนวน1ร้าน ๓.สรุปผลการตรวจร้านชำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชนได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้
สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องและสมประโยชน์ เกิดความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค ๒. ประชาชนและกลุ่มเครือข่ายต่างๆในชุมชน มีส่วนร่วมในการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ผู้บริโภคมีความปลอดภัยไม่เกิดการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุจากการบริโภค ๓.ชุมชนเข็มแข็งสามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างยั่งยืน เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2560 11:23 น.