กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการทุ่งต่อร่วมใจ ต้านภัยมะเร็ง ปากมดลูก และเต้านม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลทุ่งต่อ
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 พฤษภาคม 2559 - 30 กันยายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถานีอนามัยตำบลทุ่งต่อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.759,99.575place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก จากรายงานขององค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for research on Cancer :IARC)/องค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี พ.ศ.2545 มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามรายใหม่ปีละ 493,243 คน และตายปีละ 273,503 คน และใน 5 ปี จะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ 1,409,285 คน ซึ่งจะต้องได้รับการรักษา

ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก

โรคมะเร็งเต้านมเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพสตรีทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งพบว่าโรคมะเร็งเต้านมมีอุบัติการณ์ของโรคสูงเป็นอันดับ 1 ในปี 2551 และพบว่าสตรีทุก 16 คน มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 คน แม้ว่ามะเร็งเต้านมทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งร้อยละ 80 ของมะเร็งเต้านมสามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากสามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใด ๆ ช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคได้ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมากจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเตานมด้วยตนเองเลย จึงไม่ได้ไปพบแพทย์ในระยะเริ่มแรก ทั้งนี้เนื่องจากกลัวและวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งการขาดความรู้ ขาดความเชื่อมั่นในการตรวจเต้านม และไม่เห็นความสำคัญของการตรวจอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนจึงไม่เกิดพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80

2 2.เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก

1.ค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ร้อยละ 100

3 3.เพื่อลดอัตราป่วยและตามด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

1.ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80

4 4.เพื่อสร้างพลังสตรีอาสาต้านภัยมะเร็งในชุมชน

1.สร้างอาสาต้านภัยมะเร็งในชุมชน ร้อยละ 100

5 5.เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมกับพื้นที่และมีประสิทธิภาพเพิ่มประสิทธิผล

1.เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการโครงการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงอันตรายของโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูก และให้ความสนใจในการเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก มากกว่า ร้อยละ 80
  3. ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นได้รับการรักษา
  4. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2559 15:42 น.