กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยสุขภาพดี
รหัสโครงการ 61-L2515-1-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.มะนังปันยัง
วันที่อนุมัติ 20 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กันยายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 3 กันยายน 2561
งบประมาณ 36,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซาพี ดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 367 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยอายุ ๐-๕ ปี ทุกคน ที่ต้องได้รับให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง ปลอดจากโรค ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านความคิดและการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ โดยสิ่งสำคัญคือการจัดบริการด้วยความสะดวก ปลอดภัย และต้องให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในป้องกันการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และการระบาดในพื้นที่ด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน นอกจากนี้สถานการณ์ภาวะสุขภาพเด็ก 0-5 ปี ยังไม่ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย ภาวะโภชนาการของเด็ก มีเด็กผอม และเด็กเตี้ย จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม และเพียงพอ บิดามารดาไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้ว ต่ำกว่าเกณฑ์ อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการไม่แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้อง     จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะนังปันยัง ในช่วงเวลาเดือนตุลาคม ๒๕๖๐-มิถุนายน ๒๕๖๑ มีผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุครบ ๑ ปี  ร้อยละ๔๘.๙๘ เด็กอายุครบ ๒ ปี ร้อยละ ๓๖.๓๖ เด็กอายุครบ ๓ ปี ร้อยละ ๔๔.๑๙ และเด็กอายุครบ ๕ ปี  ร้อยละ ๕๕.๕๕ ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ ๙๐.๐๐ พบว่าผู้ปกครองพาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนล่าช้า เสี่ยงต่อการรับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ และไม่ครบตามเกณฑ์อายุ มีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์พัฒนาการไม่สมวัย และมีปัญหาฟันผุ จึงมีการติดตามทั้งเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการให้บริการมีความครอบคลุมมากที่สุดครบถ้วน ทั้งนี้ต้องมีการประชาสัมพันธ์ถึงผลกระทบ ความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคจากภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการล่าช้า และโรคฟันผุเพิ่มเติม และต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านมะนังปันยัง จึงได้จัดโครงการหนูน้อยสุขภาพดีขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.๑ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ พัฒนาการสมวัย และได้รับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ๑.๒ เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้เรื่องโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการสมวัยและโรคฟันผุ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36.00 0 0.00
28 ก.ย. 61 ประชุมเชิงปฎิบัติการอาสาสมัคร อสม. 0 3.00 -
28 ก.ย. 61 ประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้ปกครอง 0 33.00 -

๑ ให้บริการฉีดวัคซีนทุกวันพุธ ออกติดตามเยี่ยมกลุ่มขาดนัด,กลุ่มปฏิเสธวัคซีน และกลุ่มที่ป่วยหลังได้รับวัคซีน เด็กอายุ 0-5 ปี หมู่ ๑,๒,๖,๗ และ๘ จำนวนทั้งหมด ๒๕๐ คน
๒ ให้อาสาสมัครสาธารณสุขชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการทุก ๓ เดือน ๓ เจ้าหน้าที่ทำการประเมินพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ ๔ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการสมวัยและ โรคสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน ๘๐ คน แบ่งเป็น ๒ รุ่น รุ่นละ ๔๐ คน ๕ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโรคป้องกันได้ด้วยวัคซีน การประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการสมวัยและ โรคสุขภาพช่องปาก แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ๓๗ คน ๖ จัดประกวดหนูน้อยสุขภาพดี ในกลุ่มอายุ ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปี และ ๕ ปี ๗ สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุ ไม่ป่วยด้วยโรคที่ป้องกันด้วยวัคซีน ๒ เด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการปกติ พัฒนาการสมวัย ไม่มีโรคสุขภาพช่องปาก ๓ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้และเชิญชวนให้ผู้ปกครองพาบุตรมารับบริการ ๔ ผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปี มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โภชนาการ พัฒนาการสมวัย และมีสุขภาพช่องปากที่ดี ๕ มีเด็กน้อยสุขภาพเด็กดีใน ๔ กลุ่ม คือ เด็กอายุ๑ ปี, ๒ ปี, ๓ ปี และ ๕ ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2561 11:46 น.