กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชน ร่วใจ ใส่ใจความสะอาด จัดการขยะตามหลัก ๓ Rs ประจำปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L2990-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.ควน
วันที่อนุมัติ 25 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรทัย ไตรธเนศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.762,101.493place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาใหญ่ที่ประชาชนประสบ เพราะสิ่งแวดล้อมถูกประชาชนทำลายไปมาก ก่อให้เกินปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะล้นเมือง ปัญหาสุขภาพอนามัย ซึ่งขยะเป็นปัญหาหลักของสิ่งแวดล้อมที่ยากที่จะแก้ไข และสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้างหรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลอง ก่อให้เกิดสิ่งปฎิกูลมากมาย และสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะทะลงแม่น้ำจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ เมื่อมีขยะก็จะรวมกันกำจัดไปในคราวเดียวกัน องค์การบริหารส่วนตำบลควน จึงเห็นความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม และต้องสร้างจิตสำนึกของการห้ามทิ้งขยะโดยปลูกฝังให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป พร้อมทั้งจัดหาวิธีการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีประโยชน์มาก พร้อมกับเสนอวิธีการคัดแยกขยะที่ถูต้อง เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้อง สอดคล้องกับโครงการขยะเป็นศูนย์ของจังหวัดปัตตานีด้วย ประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา ๖๗(๗) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและมาตรา ๑๖(๑๘)การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฎิกูล และน้ำเสีย     องค์การบริหารส่วนตำบลควนร่วมกับผู้นำชุมชนคิดจะดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะล้นชุมชนและไม่มีที่ทิ้งขยะ โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน จัดตั้งองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกต่อการรักษ์บ้านเกิดของคนในชุมชน นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุนชน ของตนเอง จนเกิดชุมชนต้นแบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในตำบลแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาและฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลด สภาวะเรือนกระจก   องค์การบริหารส่วนตำบลควนจึงเห็นความสำคํญและได้นำเสนอโครงการโครงการชุมชน ร่วมใจใส่ใจความสะอาด จัดการขยะตามหลัก ๓Rsเป็นระบบและถูกวิธี เพื่อเป็นต้นแบบแห่งการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมรส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดมากขึ้น 2.เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน 3.เพื่อส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกในประชาชนทั่วไปรักและต้องการที่จะรักษาสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ 4.เพื่อเป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและสามารถนำขยะเข้ามาใช้ได้อีกในอนาคตตามหลัก ๓Rs

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ 2.ประสานงานติดต่อผู้นำชุมชนเพื่อจัดหาครอบครัวต้นแบบในการจัดการขยะ 3.ประชุมชี้แจ้งรายละเอียดโครงการแก่แกนนำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างความเข้าใจแก่หน่สยงานและองค์กรต่างๆเพื่อแสวงหาแหล่งทุนและความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการขยะอย่างครบวงจร 4.ประชุมร่วมกับประชาคมของชุมชนเพื่อสะท้อนปัญหาด้านสุขาภิบาลและแนวทางการจัดการขยะของชุมชนนั้นเพื่อให้ทราบสภาพที่แท้จริงและการจัดการบ้านเรือนในชุมชนและร่วมกันวิเคราะหืปัญหาและแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาโดยให้เน้นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการจัดการด้านสุขาภิบาลในชัมชน แนวทางการจัดการขยะ เพื่อดำเนินงานในระดับครัวเรือนและพัฒนาเป็นอาสาสมัครรณรงค์การคัดแยกขยะ และตกลงกติกาการดำเนินงานของกลุ่มให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการกลุ่มหรือบริหารงบประมาณหากมีจัดตั้งกองทุนการกำจัดขยะโดยผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ในหลังคาเรือนจะมีการแยกขยะเป็นชนิด โดยแบ่งเป็น -ขยะสดที่เป็นเศษอาหารมีการกำจัดโดยทิ้งใส่ถังหมักที่มีกากน้ำตาล เพื่อเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพนำไปบำรุงดิน หรือพัฒนาเป็นน้ำหมักไล่แมลงรดพ์ชผัก ต้นไม้ ที่ปลูกในสวนหรือไร่นา -ขยะแห้งให้มีการคัดแยกแต่ละชนิดในครัวเรือน พลาสติก กระดาษ แก้ว อาจแยกขยะใส่ภาชนะที่จัดเก็บหรือใช้ถุงปุ๋ยที่มีมากอยู่แล้วในชุมชนเก็บไว้แล้วทำการนัดหมายสมาชิกกลุ่มมารวมขยะเพื่อจะบันทึกน้ำหนักขยะ ของแต่ละครัวเรือนพร้อมนัดหมายรถรับซื้อขยะเข้ามาซื้อขยะรีไซเคิลในชุมชน และนำเงินที่ได้บริหารจัดการตามข้อตกลงของชุมชน 5.ชุมชนร่วมกันรณรงค์จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน และชุมชนให้น่าอยู่่่่่่่่่่่่่่่่ เน้นปลูกจิตสำนึกสมาชิกให้ตระหนักในการรักษาความสะอาด โดยกิจกรรมกำจัดขยะครั้งยิ่งใหญ่ในชุมชน เพื่อเป้นการสร้าง กระแสและประกาศเจตนารมณืร่วมกันทั้งหมู่บ้าน 1 ครั้ง (เดือนมีนาคม2561) 6.จัดเวทีประชาคมตัวแทนครัวเรือน หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์ปัญหา/วางแผนแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย(เดือนเมษายน2561) -กำหนดกิจกรรมการจัดการขยะอย่างครบวงจร 6.1 คัดเลือกแกนนำ กลุ่ม อสม.กลุ่มผู้สุงอายุ กลุ่มเยาวชน และตัวแทนกลุ่มทุนต่างๆในพื้นที่เพื่อเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม 6.2จัดตั้งกลุ่มกิจกรรมการจัดการขยะ เช่นย กลุ่มเก็บขยะสะสมขายเป็นเงิน กลุ่มทำปุ๋ยน้ำหมักชวีภาพ กลุ่มเยาวชนอาสาพิทักา์สิงแวดล้อม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษามากขึ้น 2.ประชาชนมีจิตสำนึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 3.ช่วยรักษาภาวะโลกร้อนได้อีกวิธีหนึ่ง 4.มีแนวทางวิธีการในการจัดการขยะที่เป็นปัญหาและรู้วิธีการคัดแยกขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2561 09:35 น.