กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารเช้า เพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส
รหัสโครงการ 60-L5205-3-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 75,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภูวนาถ รัญเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กทุกคนให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีการพัฒนาคุณภาพชีวิตถือเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้อันเป็นพื้นฐานของช่วงวัยลำดับต่อไป จากข้อมูลปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบล คลองหรัง ทั้งหมด 123 คน พบว่า มีนักเรียนที่มีร่างกายสมส่วน จำนวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 76 นักเรียนมีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 29 นักเรียนอ้วน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 8 นักเรียนที่เข้ามาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถอยู่ร่วมกับบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเพื่อนๆได้อย่างมีความสุข ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการอำนวยความสะดวก มีความสะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ มีการบริการอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ เจริญเติบโตตามวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการจัดการ ควบคุม ส่งเสริมปัจจัยที่เอื้อ และขจัดหรือลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อความน่าอยู่ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้มีความเหมาะสมตามวัย ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ
ครู ผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นักเรียนควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง ความสะอาดของสภาพแวดล้อม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในผักผลไม้ อันจะส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ดี ปราศจากโรคภัย ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจกรรมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับผู้ปกครอง อันส่งผลให้เกิดความร่วมมือร่วมใจระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกับชุมชนซึ่งพัฒนาการด้านร่างกายอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียนตามมา จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีพัฒนาการสมวัยทุกด้าน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบห้าหมู่มีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย มีสมาธิพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆสู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังที่มีความเสี่ยงและมีภาวะโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ

1.นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังจำนวน 150 คน ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการ

2 2.เพื่อให้นักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโต มีโภชนาการสมวัย

2.นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง จำนวน 150 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบศีรษะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

3 3.เพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรังมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการเด็กเล็ก 0-5 ปี

3.ผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองหรัง จำนวน 150 คน มีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการ เด็กเล็ก 0-5 ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปีการศึกษา 2559 2.ประชุมครูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ 3.ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 3.1 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปีของกรมอนามัยก่อนอบรม 3.2 จัดอบรมผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 150 คน 3.3 จัดอาหารเสริมแก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการให้ได้รับอาหารที่เหมาะสม 3.4 ติดตามประเมินชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี หลังอบรม 1 เดือนๆละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง (สิ้นเดือน มิ.ย. , ก.ค. , ส.ค.) ในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการ ส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหรัง 3.5 หลังอบรมส่งเสริมครัวเรือนของนักเรียนให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษ เมื่อได้ผลผลิตผู้ปกครองและนักเรียนนำผัก
ปลอดสารพิษมาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อประกอบอาหารกลางวัน และส่วนหนึ่งบริโภคในครัวเรือนเพื่อส่งเสริมโภชนาการสำหรับนักเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนที่มีความเสี่ยงและมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ 2.นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโต มีโภชนาการสมวัย 3.ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็กเล็ก 0-5 ปี 4.ครัวเรือนของนักเรียนมีความมั่นคงทางอาหาร และได้รับอาหารที่เพียงพอและปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2560 08:39 น.