กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพในหมู่ที่ 2 บ้านหารเทา ปี 2562
รหัสโครงการ 62-L3339-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2 บ้านหารเทา
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 6,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2 บ้านหารเทา
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะโรคร้อนอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัดไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่น ๆ เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยและเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบของหมู่ที่ 2 บ้านหารเทา ตำบลหารเทา จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อม ครบถ้วนของการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรคและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านหารเทาตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง รวมถึงภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในชุมชน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคติดต่อและปัจจัยของภัยสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงดำเนินการจัดโครงการควบคุม ป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน รวมถึงเป็นการสร้างเกราะป้องกันและรณรงค์ให้เกิดจิตสำนึกของชุมชนให้มีส่วนร่วมในการสร่างสุขภาพที่ดี ส่งผลต่อการลดลงของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนของและการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน

1.ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0

0.00
2 2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชน

2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 20 %

0.00
3 3 เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก
  1. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
0.00
4 4 เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

4.มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

0.00
5 5 เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชน
  1. ชุมชนมีการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและมีอัตราป่วยจากโรคและภัยสุขภาพลดลง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,300.00 0 0.00
??/??/???? จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยทีม อสม. 0 1,250.00 -
??/??/???? จัดกิจกรรมใหความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 5,050.00 -
??/??/???? จัดทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เพื่อควบคุมการระบาดของโรคอย่างทันท่วงที (0-3-7) 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
  2. ชุมชนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชุมชน
  3. ชุมชนมีการเร่งรัดในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องขึ้น
  4. ประชาชนในชุมชนได้รับการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น
  5. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อในชุมชนคงที่หรือลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561 09:41 น.