กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีบาเจาะร่วมใจตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
รหัสโครงการ 59-L4127-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2559 - 30 กันยายน 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางฮาสานะสะระยะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาพบว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยมะเร็งเต้านม มีอุบัติการณ์ของโรคสูงอันดับ ๒ ในปี ๒๕๔๒ของสตรีไทยแม้ว่าในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นโรคและไม่สามารถป้องกันได้ก็ตาม แต่สตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม เพื่อรับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สามารถลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งได้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาสตรีกลุ่มเป้าหมายยังขาดทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองและยังให้ความสำคัญในการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อยดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะจึงได้จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อจูงใจให้สตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

ร้อยละของสตรีกลุ่มเป้าหมายตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

2 ๒.เพื่อให้ความรู้และสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปและสตรีกลุ่มเสี่ยง

ร้อยละของการได้รับความรู้และสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปและสตรีกลุ่มเสี่ยง

3 ๓.เพื่อเสริมสร้างศักยภาพแกนนำสตรีในชุมชนในการป้องกันโรคมะเร็ง

ร้อยละของการเสริมสร้างศักยภาพแกนนำสตรีในชุมชนในการป้องกันโรคมะเร็ง

4 ๔.เพื่อลดอัตราป่วยและความรุนแรงด้วยโรคมะเร็งเต้านมในสตรี

ร้อยละของการลดอัตราป่วยและความรุนแรงด้วยโรคมะเร็งเต้านมในสตรี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง ๒. ร่วมกันกำหนดเนื้อหาการประชาสัมพันธ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ ๓. อบรมแกนนำสตรีการอภิปรายกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก ช่วยให้เข้าใจความต้องการของกลุ่มได้ดียิ่งขึ้นไม่เน้นการนั่งฟังบรรยาย ๔.จัดตั้งสตรีในกลุ่มอายุดังกล่าวและตัวแทนชุมชนเป็นคณะทำงานประสานงานโครงการในแต่ละหมู่บ้าน
๕.ให้ความรู้ /สาธิต (ตรวจเต้านม) นำเสนอด้วยวีดีทัศน์สถานการณ์ ปัญหาเพื่อให้เห็นความสำคัญของโรคมะเร็งและการป้องกัน ๖.ในรายที่ตรวจพบความผิดปกติ ได้รับการติดตามดูแล/รักษา ส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่ายได้อย่างถูกต้อง 7.สรุปผลการดำเนินงาน/โครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจคัดกรองอย่างครอบคลุม ๒.สตรีกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปได้รับความรู้อย่างถูกต้อง ๓.แกนนำสตรีสามารถเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องที่ถูกต้องแก่คนในชุมชน ๔.ค้นหาและคัดกรองมะเร็งระยะเริ่มแรกได้ ๕.ในรายที่ผลผิดปกติ ได้รับบริการติดตามดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ