กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลัง อสม.เข็มแข็ง เชิงรุกด้วยวัคซีน
รหัสโครงการ 19/61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านอุผะ
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 31,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธษรณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านอุเผะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายนิรันดร์ ฮีแล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลวิธีในการป้องกันควบคุมโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด ประเทศไทยได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่    ปี ๒๕๒๐ เป็นต้นมา โดยผสมผสานการดำเนินงานเข้ากับงานบริการสาธารณสุขตามปกติ และพัฒนาเร่งรัด      การดำเนินงานด้วยวิธีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายและชนิดของวัคซีนให้มากขึ้น มีการปรับปรุงระบบการกระจายวัคซีนและบริหารจัดการแก่ผู้มารับวัคซีน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพดีและครอบคลุมอย่างทั่วถึง งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นงานที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชน ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ควบคุมการกระจายของโรค โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอาจเกิดการระบาดได้ถ้าไม่สามารถให้วัคซีนได้ครอบคลุมเพียงพอ หรือให้ไม่ครบตามจำนวนครั้งที่กำหนด ภูมิคุ้มกันที่สร้างจากวัคซีนมีระดับลดลง เมื่อเวลาผ่านไปต้องได้รับการกระตุ้นซ้ำ และประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้จากปัจจัยต่างๆเช่น การเก็บรักษาวัคซีนไม่ได้มาตรฐาน เทคนิคการให้บริการหรือการฉีดวัคซีนเช่นฉีดลึก หรือตื้นเกินไป เป็นต้น
    การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในปี 2559 ความครอบคลุมของการรับวัคซีนครบชุด ในเด็ก 0-5 ปีร้อยละ 80.28 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดจังหวัดยะลา กำหนดร้อยละ 90 ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าการบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ขาดการติดตามกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายมีการย้ายที่อยู่อาศัย หรือไปรับบริการจากสถานบริการอื่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคคลที่อาศัยในพื้นที่ มีความใกล้ชิด และทราบข้อมูลการเข้าถึงรับบริการ รวมถึงการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมาย อสม.จึงมีส่วนสำคัญในการกระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารในชุมชนได้เป็นอย่างดี มาตรการเชิงรุกที่สำคัญ คือ การให้ อสม.ค้นหากลุ่มเป้าหมาย ติดตามการรับวัคซีนตามนัด พร้อมทั้งให้ข้อมูลและคำแนะนำในการรับวัคซีนป้องกันการเกิดโรค อีกทั้งเก็บข้อมูลความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนจากสถานบริการอื่น เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจสอบความครอบคลุมวัคซีนป้องกันโรค
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ตำบลกรงปินัง และองค์การบริหารสาวนตำบลกรงปินัง เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการพลังเข้มแข็ง เชิงรุกด้วยวัคซีน ปีงบประมาณ 2561 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ อสม. มีการติดตามเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ เกิดความตระหนัก และกระตุ้นให้ผู้ปกครองพาเด็ก 0-5 ปี รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็ก และเพื่อป้องกันหรือลดการระบาดของโรคที่สามารถป้องได้ด้วยวัคซีนให้น้อยลงจากพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการนำเด็กไปรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์

เพื่อป้องกันและลดการระบาดของโรคที่สามารถป้องได้ด้วยวัคซีนให้น้อยลง

1.00
2 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับภูมิคุ้มกันโรคครบตามแผนของกระทรวงสาธารณสุข

 

0.00
3 เพื่อป้องกันและลดการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัดซีนให้น้อยลง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 10 31,600.00 0 0.00
19 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเด็กที่มารับวัคซีน จำนวน 10 คน x 30 บาท x 32 วัน 10 9,600.00 -
19 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 แผ่นผับความรู้เรื่องวัคซีน จำนวน 1,000 แผ่น x 1 บาท 0 1,000.00 -
19 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน 1.2 x 2.4 x 1,000 บาท x 5 ชิ้น 0 5,000.00 -
19 เม.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ค่าติดตามเด็กขาดนัด 0 16,000.00 -
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโดย อบต.กรงปินัง
  2. ประสัมพันธ์โครงการโครงการแก่ ผู้นำศาสนา และ ผู้นำหมู่บ้าน
  3. ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโครงการดังนี้ กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ฉีดวัคซีนเชิงรุกในพื้นที่รับผิดชอบทั้ง 5 หมู่บ้าน ร่วมกับ จนท.สาธารณสุข กิจกรรมที่ 2 ติดตามเด็กที่ขาดนัด
  4. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
  5. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการเป็นรูปเล่มเพื่อนำส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกรงปินัง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ยกเว้นวัคซีน MMR ร้อยละ 95 หรือเพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิม ร้อยละ 30
  2. บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความเข้าใจและเกิดความตระหนักในการนำเด็กไปรับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์
  3. สามารถป้องกันและลดการระบาดของโรคที่สามารถป้องได้ด้วยวัคซีนน้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561 14:49 น.