กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดขยะ
รหัสโครงการ 25/61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านยะยือริ
วันที่อนุมัติ 19 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 19 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านยะยือริ
พี่เลี้ยงโครงการ มาเรียม
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาการกำจัดขยะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ ประเทศ แม้ในประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัดขยะ เช่น หาพื้นที่ว่างเปล่าห่างไกลเป็นที่ทิ้งขยะ หรือแม้แต่การแสวงหาหนทางทางชีวปฎิบัติใดๆ วิธีการต่างๆ ก็ยังไม่สามารถหาจุดสมดุลได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะทุกวันนี้ คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้างและปัญหาทางมลภาวะต่างๆ คือ 1. อากาศเสีย เกิดจากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ 2. น้ำเสีย เกิดจากการกองมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำเสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำทำให้เกิดมลภาวะมลพิษทางน้ำ 3. แหล่งพาหะนำโรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะนำโรคติดต่อทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 4. เหตุรำคาญและความไม่น่าดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวน   ซึ่งการไม่แยกประเภทของขยะนั้นเป็นสาเหตุซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ เมื่อขยะหลาย ๆ ประเภทถูกทิ้งรวมกันโดยไม่ได้แยกประเภท เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะที่สามารถนำมารีไซเคิล และขยะที่เป็นพิษ สารเคมีต่างๆจากขยะที่เป็นพิษจะไหลลงสู่พื้นดิน ถ้าขยะที่ไม่ได้แยกประเภทถูกนำไปเผารวมกันก็จะก่อให้เกิดแก๊สพิษ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การที่ไม่แยกประเภทขยะ ทำให้ขยะบางประเภทซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น ขวดพลาสติก แก้วพลาสติก กระดาษ นั้นยากต่อการแยกประเภท ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากรมากขึ้น  ซึ่งผลจากการไม่แยกประเภทของขยะนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 บ้านยะยือริ เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านอุเผะ จึงจัดทำโครงการชุมชนปลอดขยะต้นแบบขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะ การทิ้ง การคัดแยกขยะและการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีโดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนต้นแบบ มีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ วิธีการลดปริมาณขยะ การคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง จากการที่ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติคัดแยกขยะจากต้นทาง ส่งผลให้มีการลดมลภาวะโลกร้อนและนำไปสู่การเนรมิตโลกสีเขียวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน

1.เพื่อสร้างชุมชนปลอดขยะต้นแบบ 2.ส่งเสริมนวัตกรรมชุมชน เพื่อลดปริมาณขยะชุมชน

1.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดแยกขยะครัวเรือน กำจัดขยัต้นทาง

 

1.00
3 เพื่อสร้างชุมชนปลอดขยะต้นแบบ

 

1.00
4 ส่งเสริมนวัตกรรมชุมชน เพื่อลดปริมาณขยะชุมชน

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

สิ่งแวดล้อม ทสม ประจำหมู่บ้าน 2.จัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด แบบเซิงรุก ให้กับเด็กนักเรียนตาดีกา และผู้ปกครอง
3.ติดตาม'ประเมิลผล / สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อันนำไปสู่การลดมลภาวะโลกร้อนได้
  2. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
    1. ชุมชนมีการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล
    2. มีจุรวบรวมขยะของเสียอันตรายชุมชน
    3. เกิดชุมชนสีเขียว พร้อมสร้างรายได้และค่าตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับครัวเรือนในชุมชน
    4. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตพร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครัวเรือนและชุมชนในการบริหาร
          จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    5. ประชาชนมีสุขภาพดี ห่างไกลจากมลพิษต่างๆ ที่เกิดจาการคัดแยกขยะที่ผิดวิธี
    6. มีครอบครัวนำร่อง คัดแยกขยะจากต้นทาง “บ้านดีเด่น เน้นแยกขยะ” เพื่อเป็นแบบอย่างในชุมชน
    7. มีจุดรับทิ้งขยะครอบคลุมทุกหมู่บ้านในชุมชน
    8. เกิดศูนย์เรียนรู้ชุมชน ด้านการจัดการขยะ ภายในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561 17:44 น.