กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุถึงบ้าน(เพื่อนเยี่ยมเพื่อน)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 กันยายน 2561 - 31 ธันวาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ ผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 145 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ประมาณ 10 ล้านคน จำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และ 24 ของประชากรรวม ในอีกสิบและสิบสี่ปีข้างหน้าตามลำดับ และสังคมไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ตามนิยามของสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2568 กล่าวคือ ทุกๆ 5 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป 1 คน และทุกๆ 100 คนที่เดินผ่านไป จะมีผู้สูงอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปถึง 14 คน โดยจะเพิ่มเป็น 20.5 ล้านคนในปี 2583 ขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้สูงอายุวัยปลายก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันอายุเฉลี่ยของหญิงไทยอยู่ที่ 78.4 ปี ในขณะที่ชายไทยมีอายุเฉลี่ย 71.6 ปี (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2558) จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 6,394,022 คน ในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ร้อยละ 79 (5 ล้านคน) คือผู้สูงอายุติดสังคม หรือกลุ่มที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจกรรมต่างๆได้ และอีกร้อยละ 21 (1.3 ล้านคน) คือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงหรือเรียกว่ากลุ่มติดบ้านติดเตียง และต้องการดูแลทั้งด้านสุขภาพและสังคม ตำบลท่าเรือมีผู้สูงอายุจำนวนทั้งสิ้น 473 คน และกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพึ่งพิงหรือกลุ่มติดบ้านติดเตียง จำนวน 15 คน  ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคม ร้อยละ 73.3 ติดบ้าน ร้อยละ 23.10 และติดเตียงร้อยละ 3.17 (ข้อมูล:งาน อผส. กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ) จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ ประกอบกับความเจริญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทันต่อสถานการณ์ต่างๆ ก่อให้เกิดภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ ส่งผลกระทบให้การดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ขาดความสนใจในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม และการบริโภคอาหารที่พอเหมาะพอควร ดังนั้น เพื่อให้มีภาวะโภชนาการดี ลดการเจ็บป่วยของโรคต่างๆ และความพิการซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จากสาเหตุของโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ (ศพอส.) จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุถึงบ้าน(เพื่อนเยี่ยมเพื่อน)ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง และเกิดความร่วมมือดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกที่จะลงเยี่ยมผู้สูงอายุ(แกนนำผู้สูงอายุ/คณะทำงาน ศพ.อส./เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ สามารถถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสุขภาพให้กับเพื่อนได้ 

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยและอยู่ตามลำพัง และกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และพิการในชุมชนให้เห็นคุณค่าของชีวิต และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน ได้รับกำลังใจ สามารถมองเห็นคุณค่าของตนเอง มีสุขภาพจิตใจที่ดีขึ้นและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อเพิ่มศักยภาพและการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีศักยภาพและมีระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนสามารถดูแลกันเอง 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ข้อที่ 1 เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกที่จะลงเยี่ยมผู้สูงอายุ(แกนนำผู้สูงอายุ/คณะทำงาน ศพ.อส./เจ้าหน้าที่ รพ.สต.)

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ข้อที่ 2 เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยและอยู่ตามลำพัง และกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และพิการในชุมชนให้เห็นคุณค่าของชีวิต และพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ข้อที่ 3 เพื่อเพิ่มศักยภาพและการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

27 ก.ย. 61 - 31 ธ.ค. 61 1. กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำผู้สูงอายุและคณะกรรมการ ศพ.อส.ท่าเรือ ที่จะลงเยี่ยมบ้าน จำนวน 1 วัน 60.00 10,450.00 -
27 ก.ย. 61 - 31 ธ.ค. 61 2. กิจกรรมเยี่ยมบ้านเพื่อต่อยอดโครงการ(ตามแผนเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ)จำนวน 29 วัน ๆ ละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 145 คน 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 2.เขียนโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ 3. ประสานกลุ่มเป้าหมาย โดยกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
  3.1 แกนนำผู้สูงอายุ(กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดสังคม) จำนวน 41 คน /คณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือและเจ้าหน้าที่ จำนวน 19 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน เป็นกลุ่มที่จะต้องรับการอบรมให้ความรู้ก่อนลงเยี่ยมบ้าน   3.2 กลุ่มผู้สูงอายุที่ติดบ้าน จำนวน 130 คน และกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพึ่งพิงหรือกลุ่มติดบ้านติดเตียง 15 คน เป็นกลุ่มที่จะต้องรับการดูแลสุขภาพ เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ให้คำแนะนำด้านสุขภาพถึงบ้าน
4. ประสานวิทยากร และจัดเตรียมสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆ
4.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 30 วัน ดังนี้
  4.1 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำผู้สูงอายุและคณะกรรมการ ศพ.อส.ท่าเรือ ที่จะลงเยี่ยมบ้าน จำนวน 1 วัน
    4.1.1 กิจกรรมสันทนาการผ่อนคลาย ละลายพฤติกรรม ละลายความเครียด จำนวน 30 นาที     4.1.2 อบรมให้ความรู้เรื่องการให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพกับผู้สูงอายุที่ติดบ้านและผู้สูงอายุเจ็บป่วยหรืออยู่ตามลำพัง จำนวน 1 ชั่วโมง     4.1.3 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จำนวน 1 ชั่วโมง     4.1.4 แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยน 5 กลุ่มๆ ละ 10 คน ให้เวลา 30 นาที และนำเสนอในประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลท่าเรือ กลุ่มละ 5 นาที จำนวน 1 ชั่วโมง   4.2 กิจกรรมเยี่ยมบ้านเพื่อต่อยอดโครงการ(ตามแผนเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ) จำนวน 29 วัน ๆ ละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 145 คน 5. สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการและประเมินผลโครงการโดยใช้แบบสอบถาม 6.ติดตามผลการปฏิบัติงานหลังเสร็จสิ้นโครงการ และรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกที่จะลงเยี่ยมบ้าน(แกนนำผู้สูงอายุ/คณะทำงาน ศพ.อส./เจ้าหน้าที่ รพ.สต.) ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพและสามารถให้คำแนะนำกับเพื่อนได้ 2.ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยและอยู่ตามลำพัง และกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และพิการในชุมชนมีกำลังใจ มองเห็นคุณค่าของตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นและสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น
3.ผู้สูงอายุมีศักยภาพและมีระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนสามารถดูแลกันเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561 20:50 น.