กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดี พัฒนาการดีที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนตะแบก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนตะแบก
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,005.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,99.799place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรทีมีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต เด็กต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพให้สมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมจะนำพาประเทศไปสู่การแข่งขันจากคุณลักษณะดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสติปัญญาและอารมณ์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งกลุ่มที่สมควรได้รับการเสริมสร้างและพัฒนา คือเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยเฉพาะในช่วง 0-6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งจะอยู่ในการดูแลของครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง ดังนั้นครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความสามารถในการเสริมสร้างและพัฒนาเด็ก ทั้งทางด้านสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ) ให้กับเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อปูพื้นฐานกล่อมเกลาให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การจัดการศึกษาปฐมวัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง และผู้ใกล้ชิดเด็กเป็นผู้ช่วยเหลือให้เด็กมีพัฒนาการและความพร้อมอย่างเหมาะสม เนื่องจาก ช่วงวัยนี้เด็กยังต้องอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง โดยเฉพาะในช่วง 0-6 ปีแรกของชีวิต และช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่สมอง และพัฒนาการพื้นฐานด้านร่างกายต้องได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยจะต้องมีการส่งเสริมเด็กทั้งที่บ้านและที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจากการประเมินพัฒนาการของเด็กที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการใช้คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ยังมีเด็กบางคนที่ทำไม่ได้ตามเกณฑ์ทำไม่ได้ทุกข้อตามช่วงอายุของตน จึงยังไม่ได้ตามเป้าที่ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้วางไว้ และจากการจัดโครงการครั้งที่ผ่านมา ได้มีการประเมินเด็กในด้าน (IQ) และ (EQ) ซึ่งจากการประเมินยังมีเด็กที่อยู่ในเกณฑ์ระดับน้อยอยู่ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จึงอยากจะส่งเสริมให้เด็กได้อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางและอยู่ในเกณฑ์ระดับดีให้มากขึ้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนตะแบก เล็งเห็นถึงความสำคัญตรงจุดนั้น
    ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี พัฒนาการดีที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนตะแบก ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และนำไปใช้กับเด็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะเด็กจะต้องได้รับการส่งเสริมจากทั้งที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและที่บ้าน เพื่อให้เด็กโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมทั้งทางด้านด้านสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ) ให้กับเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่า ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 80

0.00
2 2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กเด็กมีพัฒนาการสมวัย และภาวะโภชนาการตามเกณฑ์และเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ปลอดโรค

เด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

0.00
3 3 เพื่อฝึกผู้ปกครองประเมินพัฒนาการเด็กได้เอง

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยมากขึ้น ร้อยละ 90

0.00
4 4 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาและส่งเสริมเด็กด้านสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ)มากขึ้น

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาและส่งเสริมเด็กด้านสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ) ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2561 16:11 น.