กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเกาะยวน
วันที่อนุมัติ 24 กรกฎาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 7,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.783,99.799place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นอนาคตของชาติที่สำคัญและปัจจุบันพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ได้นำเด็กไปรับการดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงเป็นสถานที่ที่มีเด็กมารวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายและเด็กติดต่อกันได้ง่าย เมื่อเด็กเจ็บป่วย การเจ็บป่วยของเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็กซึ่งในการดูแลของครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เน้นในเรื่องการดูแลเด็กให้มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา และสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสม     จากการสำรวจสภาวะช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก พบว่ามีปัญหาฟันน้ำนมผุ ซึ่งสาเหตุของการเกิดฟันผุเนื่องจากเด็กชอบรับประทานอาหารรสหวานอยู่เสมอรวมทั้งผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กขาดการเอาใจใส่ดูแลช่องปากและฟันของเด็กจึงทำให้เกิดปัญหาฟันน้ำนมผุตามมาการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรง ต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือ หลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรการตรวจสุขภาพช่องปาก , การให้สุขศึกษา , บริการทันตกรรม, การแปรงฟันที่ถูกวิธี , การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผลทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูและผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

0.00
3 3.เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน

ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2561 16:12 น.