โครงการตำบลพัฒนาการดีเริ่มที่นมแม่
ชื่อโครงการ | โครงการตำบลพัฒนาการดีเริ่มที่นมแม่ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.ปะเสยะวอ |
วันที่อนุมัติ | 7 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 44,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดุลเล๊าะ เจ๊ะอาลี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.733,101.606place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิด ลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มี สุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต ในมาตรฐานตำบลนมแม่เพื่อพัฒนาการเด็กอย่างองค์รวมได้กำหนดเป้าหมาย ร้อยละ 60 แม่ที่บุตรอายุ 0 - 6 เดือน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว สถานการณ์ในตำบลปะเสยะวอ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ปี พ.ศ. 2557 – 2559 พบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง ร้อยละ 65.0, 60.52 และ64.10 ตามลำดับ
ในการนี้เพื่อให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นบรรลุตามเป้าหมาย ชมรมมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กตำบลปะเสยะวอ ที่ปรึกษาและคณะกรรมการดำเนินงานตำบลพัฒนาการดีเริ่มที่นมแม่ตำบลปะเสยะวอ และเครือข่ายสุขภาพตำบลปะเสยะวอ จึงมีแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพประชากรแม่และเด็กสู่ความยั่งยืน โดยการพัฒนาในพื้นที่ ตามกระบวนการคุณภาพ การจัดระบบบริการในพื้นที่ตามมาตรฐาน เชื่อมโยงสู่ครัวเรือนและชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำหมู่บ้าน ปราชญ์ชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการขยายงานการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก จนสามารถแก้ปัญหาพื้นฐานได้ในท้องถิ่นระดับหนึ่ง แต่เป้าหมายสูงสุดคือประชาชนสามารถดูแลตนเองและคนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่พึงประสงค์ ยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไข สนับสนุนชุมชน ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา “คน” ในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ ตำบลนมแม่เพื่อพัฒนาการเด็กอย่างองค์รวม เพื่อเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ทำให้ภาคีทั้งภาคประชาชน ภาคราชการในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ มีความพร้อมในการพัฒนาและขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นรากฐานการพัฒนาชุมชน ตำบลปะเสยะวอ ตลอดจนประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | สร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นชุมชน เพื่อปกป้องส่งเสริม สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หญิงหลังคลอดด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 60 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 | ศึกษาข้อมูลสตรีตั้งครรภ์/แม่หลังคลอดในพื้นที่ | 0 | 44,700.00 | - | ||
รวม | 0 | 44,700.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
ศึกษาข้อมูลสตรีตั้งครรภ์/แม่หลังคลอดในพื้นที่
วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับคณะกรรมการตำบลแกนนำสุขภาพเพื่อ
หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบ
จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเสนอเพื่อขออนุมัติ
จัดหาสื่อการสอน เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรม
แต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
สำรวจข้อมูลบ้านหญิงตั้งครรภ์หญิงหลังคลอดที่มีเด็กแรกเกิด - 5 ปี 2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะกรรมการชมรมมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กจำนวน 45 คน โดยจะจัดประชุมคณะกรรมการเป็นจำนวน 4 ครั้งในปีงบประมาณ และเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่อง “ นมแม่และพัฒนาการของเด็ก ” เป็นจำนวน 1 ครั้ง
คณะกรรมชมรมและสมาชิกสายใยรักลงเยี่ยมหญิงหลังคลอดและหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างครบ 6 เดือน 4. ประชาสัมพันธ์ “ตำบลนมแม่” ความรู้เรื่อง “นมแม่” รณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในพื้นที่
ทางสื่อสารชุมชน เช่นคู่มือ แผ่นพับ โปสเตอร์ ภาพพลิก ไวนิล หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน รถประชาสัมพันธ์ ชมรมสร้างสุขภาพ สื่อบุคคล
ส่งเสริมกิจกรรมปลูกพันธุ์พืช อาหารเพิ่มน้ำนมในศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และครัวเรือน หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดที่มีบุตรแรกเกิด–6 เดือน โดย รพ.สต.ปะเสยะวอ อบต.ปะเสยะวอ ปราชญ์สมุนไพร 6. ส่งเสริมกิจกรรมจัดมุมนมแม่ในสถานบริการและสร้างมาตรการช่วยเหลือให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
การสร้างเสริม หลักสูตรความรู้นมแม่ในสถานศึกษา อบรมผู้นำนักเรียนยุวทูตนมแม่จำนวน 20 คน เวลา 1 วัน 8. องค์กรชุมชน ขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลนมแม่ ฯ โดยชมรมมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กและคณะกรรมการตำบลนมแม่ฯ 9. ขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตำบลนมแม่ จำนวน 1 ศูนย์ โดยชมรมมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กและคณะกรรมการตำบลนมแม่
ขับเคลื่อนมาตรการทางสังคมตำบลนมแม่ ฯ ร่วมกัน 1 ฉบับ (7 ข้อ) อย่างต่อเนื่อง 11. ขับเคลื่อนกองทุนนมแม่เพื่อจัดสวัสดิการช่วยเหลือแม่หลังคลอด 1 กองทุน โดย คณะกรรมกอทุน
นมแม่ ฯ และชมรมมาตรฐานอนามัยแม่และเด็กตำบลปะเสยะวอ
จัดตั้งทีมและออก ประเมิน ค้นหา ปราชญ์นมแม่ แม่และครอบครัวตัวอย่าง ชมรมนมแม่ฯ เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจ ให้คำปรึกษา แนะนำ หาพ่อ - แม่จิตอาสา พ่อ - แม่มือเก่า ช่วย พ่อ - แม่ มือใหม่ ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดตามเกณฑ์ 13. จัดประกวดแม่ตัวอย่าง เด็กสุขภาพดี และประกวดอาหารบำรุงนมแม่
ประกาศเกียรติคุณแม่และครอบครัวตัวอย่าง โดยที่ปรึกษาและคณะกรรมการดำเนินงานฯ/องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอ
15.ประเมินตำบลพัฒนาการดีเริ่มที่นมแม่ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยที่ปรึกษาและคณะกรรมการดำเนินงาน ฯ
1.เอัตราการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวเ6เเดือนเเพิ่มเป็นร้อยละเ60เแม่และครอบครัวมีความเข้มแข็ง และส่งผลให้คุณภาพชีวิตเด็ก 0 - 5 ปีดีขึ้น
- ชุมชนมีระบบการดูแล เฝ้าระวัง อนามัยแม่และเด็กที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดตำบลนมแม่เพื่อเพื่อพัฒนาการอย่างองค์รวมต้นแบบ ที่เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2560 14:05 น.