โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงกลุ่มโรค Metabolic ปี ๒๕๖๐ ตำบลป่าสัก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงกลุ่มโรค Metabolic ปี ๒๕๖๐ ตำบลป่าสัก ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ |
รหัสโครงการ | 30/2561 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม |
วันที่อนุมัติ | 23 มีนาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 23 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 28 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 17,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม |
พี่เลี้ยงโครงการ | ศูนย์ประสานงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลป่าสัก |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน |
ละติจูด-ลองจิจูด | 18.519,99.03place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรง ส่วนหนึ่งนั้น โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี ๒๕๖๐ เป้าหมายประชากร ๓๕ ปีขึ้นไป เป้าหมายคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน ๕,๙๓๖ คน คัดกรองได้ ๕,๔๑๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๒๙ พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน ๒๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๑๗ กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน ๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๔๖ ผู้ป่วยรายใหม่ ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๑๖ และเป้าหมายคัดกรองกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง จำนวน ๕,๔๕๔ คน คัดกรองได้ ๕,๐๑๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๙๕ พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๕๓ กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๗๓ ผู้ป่วยรายใหม่ ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๒๖
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหลุม ตำบลป่าสัก มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำจัดทำ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงกลุ่มโรค Metabolic ปี ๒๕๖๐ ตำบลป่าสัก ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
|
0.00 | |
2 | ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐
|
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ๒. กลุ่มเสี่ยงเกิดความตระหนักและมี ความรู้ ทักษะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองที่เหมาะสม ป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ ๓. กลุ่มเป้าหมายได้เฝ้าระวังความเสี่ยงของตนเอง สามารถนำความรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้สำหรับการดูแลตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2561 08:28 น.