กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในภาวะวิกฤติบ้านโคกโหนด หมู่ที่ ๖ ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
รหัสโครงการ 60-L3339-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 8 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) บ้านโคกโหนด หมู่ที่ ๖
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยพรด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,100.267place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 248 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พื้นที่บ้านโคกโหนดหมู่ที่ ๖ ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง มีประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยจำนวน ๒๒๘ หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๘๔๔ คน การตั้งบ้านเรือนของประชาชนจะอยู่เป็นกลุ่มบ้านแยกเป็น ๓ กลุ่มบ้าน ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยบริเวณสองข้างถนนทั้งที่เป็นถนนลาดยางที่ผ่านกลางหมู่บ้านและถนนสายย่อยในละแวกกลุ่มบ้านต่างๆในปี ๒๕๕๙ ในหมู่บ้านมีประชาชนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจำนวน ๒ คน คิดเป็นอัตราป่วย ๒๓๖.๙๖ ต่อประชากรแสนคน ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นการเกิดโรคที่เกิดขึ้นตลอดปีเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคยังคงเป็นวัฎจักรเชื่อมโยงเกื้อกูลกันอย่างแน่นหนากล่าวคือ สภาพบ้านเรือนภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค เชื้อโรค และผู้ป่วยที่ยังอยู่ในระยะที่สามารถติดต่อได้ซึ่งยังคงพบปะกับผู้อื่นบ่อยๆ อย่างที่ไม่มีความตระหนักในการป้องกันการติดต่อของโรคเทศบาลตำบลหารเทาร่วมกับรพ.สต.บ้านไทรพอนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) จะดำการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวดก็ไม่สามารถยับยั้งการเกิดโรคอย่างเด็ดขาดได้ สมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเห็นว่าจะต้องใช้กลวิธีแบ่งเขตพื้นที่เฉพาะกิจเพือจัดกิจกรรมการพัฒนาในการกระตุ้นเตือนและสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองให้เกิดแก่ประชาชนทุกครัวเรือนสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนอย่างเป็นวิถีชีวิต จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในภาวะวิกฤติเพื่อดำเนินการในหมู่บ้านแม้ว่าสถานการณ์การการเกิดโรคจะคลี่คลายไปในทางที่ดีแล้วก็ตาม แต่หากพฤติกรรมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อยังไม่แทรกซึมเข้าสู่วิถีชีวิตของประชาชนความเสี่ยงในการเกิดโรคไข้เลือดออกยังจัดอยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการระบาดของโรคในปี ๒๕๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคที่กำลังเกิดอย่างเร่งด่วน

 

2 ๒.เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยกลวิธีที่ประชาชนมีส่วนร่วม

 

3 ๓.เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

 

4 ๔.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการควบคุมกำกับติดตามผล รายงานผลและสรุปผลการดำเนินงาน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประสานงานและจัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำชุมชน สำรวจการตั้งบ้านเรือนของประชาชนและแบ่งพื้นที่หมู่บ้านออกเป็น ๓ เขต เพื่อความสะดวกในการจัดกิจกรรมการพัฒนาขอสนับสนุนข้อมูลการเกิดโรคจากรพ.สต.บ้านไทรพอน ปรึกษาหารือและแนวทางดำเนินโครงการร่วมกัน ๒.จัดทำโครงการและนำเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลหารเทาเพื่อขออนุมัติโครงการและขอสนับสนุนงบประมาณ ๓.ประสานงานอสม.และแกนนำครัวเรือนเพื่อแจ้งให้เข้ารับการอบรมตามโครงการ ๔.ประสานงานกับรพ.สต.บ้านไทรพอนเพื่อขอสนับสนุนวิทยากร ๕.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากรและสถานที่ในการดำเนินงานโครงการ ๖.ดำเนินงานประชุมอบรมตามโครงการฯ -อบรมเชิงปฏิบัติการการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ตัวแทนครัวเรือน ๗.คัดเลือกแกนนำครัวเรือนตามที่ได้แบ่งเขตไว้ทั้ง ๓ เขต เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานเขตละ ๓ คน ๘.จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านโดยจัดให้ครอบคลุม ๓ กลุ่มบ้านๆละ ๑ เครือข่ายย่อย ดังนี้ -กลุ่มบ้านโคกโหนด -กลุ่มบ้านไทรพอน -กลุ่มบ้านควนน้อย ๙.สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมระวังควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ๑๐.ประชุมฟื้นฟูความรู้และนำเสนอผลการดำเนินงานแก่ชุมชน ๑๑.เดินรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย ๑๒.ประชุมกลุ่มแกนนำชุมชนเพื่อติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง(รวม ๓ ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย ๑ เดือน)และประเมินผลระหว่างการดำเนินงานตามโครงการ ๑๓.สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยบริการสาธารณสุข องค์กรสุขภาพภาคประชาชนและประชาชนสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคที่กำลังเกิดอย่างเร่งด่วน ๒.มีการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยกลวิธีที่ประชาชนมีส่วนร่วม ๓.ชุมชนสามารถลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยกลวิธีที่เป็นรูปธรรม ๔.ชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการควบคุมกำกับ ติดตามผล รายงานผลและสรุปผลการดำเนินงานในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกและสามารถนำไปปรับใช้กับการพัฒนางานส่วนอื่นๆได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2560 13:22 น.