กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจกำจัดยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 2564-L5221-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 23 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 96,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.80637,100.358595place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ต.ค. 2563 30 ก.ย. 2564 96,150.00
รวมงบประมาณ 96,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 1640 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 4600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 2000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
83.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน ของทุกปี พฤติกรรมของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกและเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 8 ก.ค. 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 25,708 ราย เสียชีวิต 15 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ 10-14 ปี และ 25-34 ปี ตามลำดับผู้ป่วยมีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยภูมิภาคที่พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ชัยภูมิ รองลงมาคือระยอง ขอนแก่น แม่ฮ่องสอน และนครราชสีมา ตามลำดับ(กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา,2563 ) ปี 2562 มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 128,964 ราย อัตราป่วย 195.22 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 133 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.10(ณ 31 ธันวาคม 2562) จังหวัดสงขลามีผู้ป่วยไข้เลือดออก 3,097 ราย อัตราป่วย 219.82 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 5 ราย (อ.ควนเนียง/เทพา/หาดใหญ่/สะเดา2) อัตราป่วยตายร้อยละ 0.16(ณ 31 ธันวาคม 2562) อำเภอระโนด มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 14 ราย อัตราป่วย 23.55 ต่อแสนประชากรซึ่งมีความเสี่ยงระดับต่ำ แต่ตำบลท่าบอนมีจำนวนผู้ป่วยถึง 7 ราย อัตราป่วย 83.09 ต่อแสนประชากรซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน(สสจ.สงขลา.งานระบาดวิทยา,2563)
ดังนั้น มาตรการการป้องกัน การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับในปีงบประมาณ 2564 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้วางมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1. ระยะก่อนการระบาด ตั้งแต่เดือนตุลาคม - เมษายน ซึ่งเป็นช่วงโอกาสการแพร่โรคเกิดน้อย สามารถป้องกันโรคล่วงหน้า ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และประชาชน ระยะที่ 2. ระยะระบาด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม เน้นมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมทั้งด้านการรักษา อุปกรณ์ และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เปิดศูนย์ปฏิบัติการ(War Room) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสั่งการและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาในพื้นที่ ที่มีการระบาดและไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และออกให้ความรู้ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนในตำบลท่าบอนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่่อควบคุม ป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนและโรงเรียน

มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

40.00 45.00
2 เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ เฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้ง 10 หมู่บ้าน

30.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 303 96,150.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 รณรงค์ทำความสะอาด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก 150 3,750.00 -
1 ต.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก 3 92,400.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง 150 0.00 -

1.สำรวจข้อมูลปัญหาและเขียนโครงการขอสบับสนุนงบประมาณ 2.ทำความเข้าใจกลุ่มแกนนำต่างๆ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ดำเนินการทำความสะอาดทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 4.ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในสถานศึกษาก่อนเปิดการเรียนการสอน 5.เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน วัด สถานศึกษา สถานที่ราชการและเอกชน 6.ดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย บริเวณบ้านผู้ป่วยและรัศมี 100 เมตร 7.รายงานสถานการณ์โรคและสรุปผลการดำเนินโครงการแก่ผู้บังคับบัญชา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทุกภาคส่วนร่วมกันทำความสะอาด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ในหมู่บ้าน โรงเรียน/สถานศึกษา วัด และสถานที่ราชการสม่ำเสมอ 2.ผลการสำรวจค่า HI CI ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน 3.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2561 10:08 น.