กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ทันตกรรมป้องกันและรักษาในกลุ่มเป้าหมายหลักในเขตตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุงปี ๒๕๖๐

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ทันตกรรมป้องกันและรักษาในกลุ่มเป้าหมายหลักในเขตตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุงปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L3341-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลป่าบอน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 ตุลาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 149,979.60 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลป่าบอน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1- 9 พื้นที่ตำบล อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 428 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 2127 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 1003 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 712 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับประเทศ ในปี ๒๕๕๙และจากการสำรวจในแต่ละรอบปีที่ผ่านมาของอำเภอป่าบอน พบว่าแม้จะมีการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพและให้บริการด้านทันตกรรมแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่สภาวะฟันผุของกลุ่มเด็กอายุ ๑๒ ปีจากการสำรวจที่แม้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศแต่ก็ยังคงค่อนข้างคงที่ ไม่มีแนวโน้มลดลงอย่างไรก็ตามแนวโน้มฟันผุในเด็กอายุ ๓ ปีกลับมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังคงมีเด็กเล็กมากกว่าร้อยละ ๕๐ ที่มีฟันผุกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่พบปัญหาการสูญเสียฟันอย่างชัดเจนอัตราการสูญเสียฟันนี้จะเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิตจนถึงผู้สูงอายุซึ่งการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยมากกว่า๑๐ซี่/คน อาจกล่าวได้ว่าผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการบดเคี้ยวอาหารดัชนี้ที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างชัดเจนคือ การปราศจากฟันทั้งปากนั้นพบสูงถึงร้อยละ ๒๙.๕ และแม้ในภาพรวมการคงอยู่ของฟันจะเพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มอายุ แต่ผลการสำรวจทุกครั้งยังคงชี้ให้เห็นว่า โรคฟันผุในฟันน้ำนมยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงมีเด็กจำนวนมากที่มีฟันผุตั้งแต่อายุเพียง๓ ขวบเท่านั้น และอัตราการเกิดฟันผุยังมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างช่วงอายุ๓-๕ปี พบว่า ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดมีค่ามากกว่า ๓ ซี่/คน ขึ้นไป ในเด็กอายุ ๓ ปี และสูงขึ้นเป็น ๕-๖ ซี่/คนในเด็กอายุ ๕-๖ ปี ถึงแม้รัฐจะจัดบริการทันตกรรมในสถานบริการ ตั้งแต่ระดับสถานีอนามัยโรงพยาบาลชุมชน ไปจนกระทั่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแต่การเข้าถึงบริการด้านทันตกรรมในภาครัฐยังคงน้อย ประชาชนไปใช้บริการทันตกรรมและได้รับการบริการในสถานบริการของรัฐในเขตอำเภอป่าบอนเพียงร้อยละ ๒๗.๓๖ ในขณะที่ผู้ให้บริการด้านทันตกรรมยังคงมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการ แม้มีบางพื้นที่ที่ลงปฏิบัติงานในระดับสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชน แต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย ทำให้ผลลัพธ์ของงานด้านทันตกรรม ในภาพรวมต่ำ จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการกำหนดมาตรการที่จำเป็นต่อการควบคุมสภาวะความชุกของโรคในช่องปากตั้งแต่เยาว์วัยและคงสภาพการใช้งานของฟันและเหงือกให้อยู่ในสภาวะที่ดี เพื่อลดการสูญเสียฟันในวัยทำงานและปราศจากฟันในวัยสูงอายุ อันจะส่งผลถึงปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร และคุณภาพชีวิต ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการทันตกรรมและควบคุมสถานการณ์การเกิดโรคฟันผุในช่องปากระยะยาว จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและทันตกรรมป้องกันในทุกกลุ่มอายุ ให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และให้การรักษาในกลุ่ม เป้าหมายหลัก ( กลุ่มหญิงมีครรภ์, กลุ่มเด็กปฐมวัย, กลุ่มนักเรียนประถมศึกษาและกลุ่มผู้สูงอายุ) รวมถึงการพัฒนาระบบบริการด้านทันตกรรมเพื่อให้สามารถได้รับบริการทันตกรรมได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพช่องปากในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่ฝากครรภ์ ANC ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากตามเกณฑ์ ร้อยละ๘๕

2 ควบคุมสภาวะสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กปฐมวัย เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กประถมศึกษาโดยบูรณาการงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ป้องกันโรค และรักษาทางทันตกรรม ( comprehensivecare )

1.ร้อยละ ๘๐ของเด็ก ๙ – ๑๒ เดือนและ ๑๘ – ๒๔ เดือน ได้รับการดูแลด้านทันตสุขภาพโดยผู้ดูแลหลัก 2.ร้อยละ ๘๐ ของเด็ก ๓ – ๕ ปี ได้รับการส่งเสริมดูแลด้านทันตสุขภาพโดยผู้ดูแลเด็กและชุมชน 3.ร้อยละ ๙๐ ของเด็กนักเรียนชั้น ป.๑ – ๖ ได้รับการตรวจและบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเสนอต่อคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขอำเภอ (คปสอ.)
  2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาบริการสุขภาพช่องปากระดับตำบลทุ่งนารี
  3. ขออนุมัติโครงการต่อคณะกรรมการจัดสรรงบกองทุนระดับตำบล ตำบลทุ่งนารี
  4. จัดทำแผนปฏิบัติงานการดำเนินกิจกรรม
  5. ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานที่กำหนด
  6. ประสาน, ติดตาม, รวมรวมและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน
  7. วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
  8. ประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีการส่งเสริมให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างแท้จริง
2.มีการส่งเสริมให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างแท้จริง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2560 14:46 น.