กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมชุมชนบริหารจัดการขยะอย่างถูกสุขลักษณะ
รหัสโครงการ 60-L1467-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 98,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผน แม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเสนอ และได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหารือร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย เพื่อจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศในระยะสั้น (พ.ศ. 2559 -2560) และเร่งรัดการดำเนินงานตามแผน Road Mad การจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ในการนี้ กระทรวงมหาดไทยและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 - 2560) ซึ่งแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว เป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการขยะในระยะ สั้นของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไป ให้มีส่วนร่วมในการ ดำเนินการลดขยะที่ต้นทางเพื่อให้วางรากฐานการดำเนินการการจัดการขยะให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน แผนปฏิบัติการ “ตรังสะอาด ปราศจากขยะ ด้วย 3Rs” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ในระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 -2560) ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดตรัง และแผนบริหารการจัดการ ขยะมูลฝอยจังหวัดตรัง (พ.ศ. 2558 - 2562)เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนจังหวัดตรังไปสู่การเป็นจังหวัดสะอาด เป็นสังคมปลอดขยะ (Zero Weste Society)ซึ่งวางอยู่บนแนวคิด 3Rs - ประชารัฐ คือ การส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งเป็นการจัดการที่ ยั่งยืน คือการลดปริมาณขยะจากแหล่งต้นทาง (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งการจัดการขยะนั้น มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะจากครัวเรือน ส่งเสริมการคัดแยก ขยะจากต้นทาง เป็นการเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปขยะ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณขยะในภาพรวมทั้งจังหวัดลดลง ทำให้ ปริมาณขยะที่จะต้องเข้าสู่ระบบการกำจัดลดลง และมีการกำจัดที่ถูกวิธีเพิ่มมากขึ้น ตามแนวคิดเรื่อง “ประชารัฐ” คือการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหา ได้แก่ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาชน/ประชาสังคม ภาคการศึกษา และศาสนสถาน เป็นต้น นอกจากการมุ่งลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะที่ต้นทางแล้ว ยังมุ่งสร้างระบบการเก็บขนขยะ ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เสนอโครงการพิจารณาอนุมัติ 2. ดำเนินงานตามโครงการ - รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และวินัยแก่ส่วนราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทางโดยการใช้แผ่นพับประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความรู้และประชุมร่วมกับผู้นำหมู่บ้านและประชาชนในหมู่บ้าน -ส่งเสริมให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อนเป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมลดคัดแยกขยะมูลฝอยหรือการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ -ส่งเสริมให้ทุกหมู่บ้านมีการจัดตั้ง“จุดรวบรวมขยะอันตรายชุมชน” และคัดแยกขยะมูลฝอย -ส่งเสริมให้ร้อยละ40ของหมู่บ้านในพื้นที่สามารถเป็นต้นแบบการลดคัดแยกขยะ 3. ติดตาม/ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตาม หลักวิชาการ ตามอำนาจหน้าที่ และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจแนวทางการ จัดการขยะมูลฝอยชุมชน
  2. หมู่บ้านเห็นถึงความสำคัญของปัญหาขยะและการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่าง เป็นรูปธรรมตามหลัก “ประชารัฐ” โดยใช้หลักการ 3Rs คือการใช้น้อยใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ 3.ประชาชนในตำบลมีสุขภาวะที่ดีภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชนอันส่งผลดีต่อสุขภาพดีของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2560 15:23 น.