กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุน ประจำปี ๒๕๖๒
รหัสโครงการ 62-L8013-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 15 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2562
งบประมาณ 95,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษฎา เพ็ชรพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.369,101.508place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (95,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 31 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกกรมด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจากมีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่ต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วงด้วยดี สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18(4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุน ประสานและกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน รวมถึงสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคลในพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกร่างหลักเกณฑ์การสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลดำเนินงานบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งเทศบาลตำบลรือเสาะได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะแล้วเป็นเวลา ๙ ปี กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ จึงได้จัดทำ “โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ ประจำปี 256๒”เพื่อเป็นการพัฒนากองทุนให้ดำเนินงานไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ และตามประกาศฯ ที่กำหนด

๑. มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณาและติดตามงาน อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี และโครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 80 %

0.00
2 ๒. เพื่อให้คณะอนุกรรมการกองทุนฯ ได้ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

๒. มีการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ตามฝ่ายต่างๆอย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี

0.00
3 ๓. เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯ เป็นไปอย่างถูกต้องตามประกาศที่กำหนดและมีประสิทธิภาพ

๓. มีจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่กองทุน โดยการประชุมร่วมกับทีมพี่เลี้ยงกองทุน อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 108,900.00 0 0.00
14 มี.ค. 61 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๒ 0 13,225.00 -
15 มิ.ย. 61 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๒ 0 13,225.00 -
27 ส.ค. 61 กิจกรรมประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบล ประจำปี ๒๕๖๓ 0 11,000.00 -
1 ก.ย. 61 - 30 ส.ค. 62 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน/ครุภัณฑ์ 0 15,000.00 -
1 ก.ย. 61 - 30 ส.ค. 62 ประชุมร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา 0 30,000.00 -
6 ธ.ค. 61 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ 0 13,225.00 -
27 ม.ค. 62 กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๒ 0 13,225.00 -
  1. รวบรวมข้อมูลเพื่อขอรับงบประมาณในปี 256๒ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ
  2. ขออนุมัติโครงการ
  3. ประชุมคณะกรรมการบริหารงานและอนุกรรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆของกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ
  4. จัดทำแผนสุขภาพชุมชนโดยดึงแกนนำกลุ่มต่างๆเข้าร่วม พร้อมทั้งคณะกรรมการบริหารงานและคณะอนุกรรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ
  5. ประชาสัมพันธ์กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลรือเสาะ เช่น เสียงตามสาย ไวนิล เว็บไซด์ เป็นต้น
  6. สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และถูกต้องตามประกาศฯ ที่กำหนดไว้ ๒. คณะอนุกรรมการกองทุนฯ สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องตามประกาศฯ ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. การปฏิบัติงานของกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2561 15:15 น.