กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคุ้มครองผู้บริโภค

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการคุ้มครองผู้บริโภค
รหัสโครงการ 2/61
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ 1. .นางสาวผดุงศรีอินประเสริฐ 2. นายสมเดชแซ่เตียว 3.นางสมถวิลนพเลิศ 4.นางกรรญาดวงประทุม 5.นางวิภานิลศิริ
วันที่อนุมัติ 27 กันยายน 2560
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2561 - 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,000.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านห้วยพลู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ผู้ประกอบการร้านค้ามีความรู้ในการเลือกอาหาร สินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ที่จะนำมาจำหน่ายได้ ขนาด 50.00
  2. ร้านค้า/แผงลอยที่จำหน่ายอาหารสด ได้รับป้ายอาหารปลอดภัย ขนาด 50.00
  3. ประชาชน แกนนำสุขภาพ และ อสม.ในพื้นที่มีความรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมาบริโภค และอุปโภคได้ถูกต้อง ขนาด 55.00

ปัจจุบันการบริโภคอาหารของคนไทยมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ  การที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดีถือเป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่สำคัญในการดำรงชีวิต กระทรวงสาธารณสุขจะได้มีมาตรการในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารเป็น 5 ชนิด (บอแรกซ์, สารฟอกขาว, สารฟอร์มาลิน, สารกันราและยาฆ่าแมลงในเนื้อสัตว์ตากแห้งและแปรรูป) และน้ำมันทอดซ้ำ (เกณฑ์อาหารปลอดภัยร้อยละ 95 และ75 ตามลำดับ) รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค หากประชาชนบริโภคอาหารที่มีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อน อันตรายไม่มีมาตรฐาน ย่อมจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น อาทิ โรคมะเร็ง  โรคหัวใจ  โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตพิการเรื้อรัง เป็นต้น
ปัจจุบันแหล่งจำหน่ายอาหารแลผลิตภัณฑ์แปรรูปได้กระจายไปในหลายรูปแบบ เช่น ซูปเปอร์มาเก็ต
ตลาดสด แผงลอย ร้านชำ ร้านอาหาร ตลาดนัด รถเร่ ฯลฯ ทำให้มีโอกาสที่อาหารนั้นจะมีการปนเปื้อนของสารที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพ่อค้าอาจจะใส่สารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านั้นเพื่อให้อาหารคงรูป น่ารับประทาน ไม่เน่าเสียง่าย เก็บไว้ได้นาน รวมทั้งมีการปลอมแปลงผลิตภัณฑ์จำนวนมากจากผล การดำเนินงานตรวจร้านอาหารในเขตความรับผิดชอบ พบว่าผู้ประกอบการร้านอาหารยังขาดความรู้และตระหนักในการจำหน่ายสินค้า เครื่องสำองค์ และยาชุดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีการนำสินค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในร้าน รวมทั้งนโยบายของจังหวัดฉะเชิงเทราให้มีการจัดหาน้ำยาตรวจสารปนเปื้อนในอาหารมาตรวจร้านแผงลอยที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่ด้วยตนเอง โดยต้องจัดหารชุดน้ำยาที่มรตรวจได้แก่ชุดตรวจ ยาฆ่าแมลง,ฟอร์มาลีน,สารกันรา,บอแรกซ์ และสารฟอกขาว ซึ่งพบว่าปัจจุบันเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนอย่างมากและก่อให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆตามมา
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ปลอดภัยจากปัญหาสารปนเปื้อนในอาหาร และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ในชุมชนทุกปีอย่างต่อเนื่อง ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านห้วยพลูจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ร้านค้า มีความรู้ในการเลือกสินค้ามาใช้อุปโภคและบริโภคได้อย่างปลอดภัย

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านค้ามีความรู้ในการเลือกอาหาร สินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง มาจำหน่ายได้ อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานงานคุ้มครองผู้บริโภค
  2. เพื่อให้ร้านค้า/แผงลอยที่จำหน่ายอาหารสด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานงานคุ้มครองผู้บริโภคได้รับป้ายอาหารปลอดภัย ในระดับตำบล ร้อยละ 85
  3. เพื่อให้ประชาชน แกนนำสุขภาพ และ อสม.ในพื้นที่มีความรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมาบริโภคและอุปโภคได้ถูกต้อง
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. 1. ฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ประกอบการร้านค้า
  2. ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและแจกสติกเกอร์ความรู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง
วิธีดำเนินการ

1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรฐานหลักสุขาภิบาลอาหารและงาน
คุ้มครองผู้บริโภค 3.สาธิตการตรวจสอบสารปนเปื้อนอาหาร และหลักการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  4.แจกแผ่นสติ๊กเกอร์ความรู้ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอางที่สามารถจำน่ายและไม่สามารถ     จำหน่ายได้ให้กับผู้ประกอบการร้านขายของชำไปติดที่ร้าน 5.การติดตามตรวจประเมินร้านค้า/ แผงลอย ที่จำหน่ายอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 6.เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านงานคุ้งครองผู้บริโภคให้ประชาชนรับทราบโดยกลุ่มแกนนำสุขภาพ
และผู้ประกอบกสนร้านค้า/แผงลอยที่ผ่านการอบรม 7.สรุปผลการดำเนินงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(1) ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านค้ามีความรู้ในการเลือกอาหาร สินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ที่จะนำมาจำหน่ายได้
(2) ร้อยละ 85 ของร้านค้า/แผงลอยที่จำหน่ายอาหารสด ได้รับป้ายอาหารปลอดภัย
(3) ร้อยละ 80 ของประชาชน แกนนำสุขภาพ และ อสม.ในพื้นที่มีความรู้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมาบริโภค และอุปโภคได้ถูกต้อง
(4) ร้านจำหน่ายอาหารในเขตตำบลเกาะขนุนได้รับการตรวจอาหารและได้มาตรฐานจนได้รับป้ายอาหารปลอดภัย
(5) ผู้บริโภคอาหารได้ใช้ผลิตภัณฑ์ และบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน